พืชสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable diseases; NCDs) โดยหมอยาพื้นบ้าน ในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง , พืชสมุนไพร , พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน , หมอยาพื้นบ้าน , จังหวัดร้อยเอ็ดบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยหมอยาพื้นบ้าน ในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนสิงหาคม 2565 โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structer interviewed) หมอยาพื้นบ้าน ทั้งหมด 4 คน ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling ) ผลการศึกษาพบพืชสมุนไพร 34 ชนิด 31 สกุล 26 วงศ์ พืชสมุนไพรพบมากที่สุดในวงศ์ Fabaceae จำนวน
4 ชนิด (12%) รองลงมาเป็นพืชวงศ์ Acanthaceae, Moraceae, Rhamnaceae, Rutaceae และ Smilaceae มีจำนวนเท่ากัน 2 ชนิด (6%) วิธีการเตรียมพืชสมุนไพรที่นิยมมากที่สุดคือต้มดื่ม จำนวน 28 ชนิด (82%) รองลงมาคือ กินสด จำนวน 6 ชนิด (17%) ไม้ต้นเป็นลักษณะวิสัยของพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด จำนวน 13 ชนิด (39%) รองลงมาคือ ไม้พุ่ม จำนวน 9 ชนิด (27%) ส่วนของพืชที่นิยมนำมาทำยาสมุนไพรมากที่สุดคือ ลำต้น จำนวน 13 ชนิด (39%) รองลงมาคือ
ใบ จำนวน 9 ชนิด (26%) กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ใช้สมุนไพรในการรักษา มี 6 กลุ่มโรค มีค่าดัชนีความสอดคล้องขององค์ความรู้ (ICF) ที่มากที่สุดคือโรคเบาหวาน ICF เท่ากับ 0.09 พืชที่มีดัชนีรายงานการใช้มากที่สุดเท่ากัน 2 ชนิด (UV=0.75) คือยอบ้าน (Morinda citrifolia L. Lecomte.) และกะทกรก (Passiflora foetida L.) ซึ่งใช้ในการบำรุงหัวใจ รักษาโรคความดันสูง และเบาหวานในทั้ง 2 ชนิด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 20-02-2024 (2)
- 29-12-2023 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น