การศึกษาเนื้อหาสาระรายวิชาคีย์บอร์ดฮาร์มอนีในระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
คีย์บอร์ดฮาร์มอนี, การจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี, เนื้อหาบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาสาระรายวิชาคีย์บอร์ดฮาร์มอนี ระดับปริญญาตรี สำหรับนักศึกษาวิชาเอกเปียโน ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม งานวิจัยนี้แบ่งประเด็นการศึกษาเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ประสบการณ์ในการเรียนวิชาคีย์บอร์ดฮาร์มอนีของผู้เชี่ยวชาญ และ 2) เนื้อหารายวิชาคีย์บอร์ดฮาร์มอนีที่มีความสำคัญและเหมาะสมกับบริบทการเรียนรู้ของสังคมไทย
ผลจากการวิจัย พบว่า 1) ประสบการณ์ในการเรียนวิชาคีย์บอร์ดฮาร์มอนีของผู้เชี่ยวชาญ มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเนื้อหาและวิธีการในการเรียนการสอนวิชาคีย์บอร์ดฮาร์มอนีในระดับปริญญาตรี ในเรื่องของวิธีการสอน เวลาในการสอน การวางเนื้อหา ตำรา รวมถึงวิธีการในการแก้ไขปัญหาในการสอน 2) เนื้อหารายวิชาคีย์บอร์ดฮาร์มอนีที่สำคัญต่อการจัดการศึกษาในระดับปริญญาตรี ควรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ก) เนื้อหาหลัก คือ เนื้อหาที่มีความสำคัญต่อการจัดการเนื้อหารายวิชาคีย์บอร์ดฮาร์มอนีเป็นเนื้อหาที่เป็นวัตถุประสงค์หลักและเป็นหัวใจของรายวิชา ได้แก่ คอร์ด การดำเนินคอร์ด การวางเสียงประสาน อิมโพรไวส์เซชัน การอ่านโน้ต และการประยุกต์ และ ข) เนื้อหารอง คือ เนื้อหาในส่วนที่ควรใช้สำหรับเสริมทักษะ ความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้เรียนในบริบทต่าง ๆ ที่จำเป็น ได้แก่ บันไดเสียง การทดเสียง การบรรเลงประกอบ การวิเคราะห์เสียงประสาน การอ่านโน้ตฉับพลัน การบรรเลงรวมวง พื้นฐานเปียโนสมัยนิยมและการอ่านคอร์ด ทฤษฎีดนตรีตะวันตก และฟิกเกอร์เบส ผลการวิจัยที่ได้รับในงานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเนื้อหารายวิชาคีย์บอร์ดฮาร์มอนี ที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสาขาดนตรีที่เปิดสอนวิชาคีย์บอร์ดฮาร์มอนี เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาดนตรีในประเทศไทยในอนาคต
References
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
พิมลพรรณ เกษมนุกูลฤกษ์. (2549). การศึกษาการสอนโสตทักษะของครูผู้สอนสำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้น กรณีศึกษา โรงเรียนดนตรีสยามกลการบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุภางค์ จันทวานิช. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Agay, D. (1981). Teaching Piano: a comprehensive guide and reference book for the instructor. New York: Yorktown Music Press.
Bastien, J. W. (1988). How to teach piano successfully. (3rd ed.). San Diego, CA: Kjos Music Co.
Camp, M. W. (1981). Developing piano performance: a teaching philosophy. Chapel Hill, NC: Hinshaw Music.
Charoenwongsa, C. (1998). Undergraduate piano pedagogy course offerings in Thai universities. (Doctoral dissertation) Norman, OK: University of Oklahoma.
Clark, F. (1992). Questions and answers: practical advice for piano teachers. MN: Instrumentalist Co.
Conrad, C. F. (1978). The undergraduate curriculum: a guide to innovation and reform. Boulder, CO: Westview Press.
Conway, M. C. & Hodgman, M. T. (2009). Teaching music in higher education. New York: Oxford university Press.
Creswell, J. W. (1998). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five traditions. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
________. (2002). Educational research: planning, conducting, and evaluating qualitative and quantitative research. Upper Saddle River, NJ: Merrill-Prentice Hall.
Frackenpohl, A. (1990). Harmonization at the piano. Dubuque, IA: Brown Publishers.
Gerig, R. R. (2007). Famous pianists and their technique. IN: Indiana University Press.
Hilley, M. & Olson, L. F. (1989). Piano for the developing musician. St. Paul, MN: West Pub. Co.
________. (1992). Piano for the developing musician. St. Paul, MN: West Pub. Co.
Jacobson, J. M. (2006). Professional piano teaching: a comprehensive piano pedagogy textbook for teaching elementary level students. LA: Alfred Pub. Co.
Johnson, V. L. (2002). A survey of undergraduate piano pedagogy core course content. (Doctoral dissertation), Norman, OK: University of Oklahoma.
Ketovuori, M. (2016). Keyboard harmony-a way of learning for class teacher (and other, as well). ISME conference, Glasgow, Scotland.
________. (2016). Keyboard harmony-a way of learning for class teacher. (Doctoral dissertation). Turku, Finland: University of Turku.
Lancaster, E. L. & Renfrow, K. (2004). Alfred’s group piano for adults. USA: Alfred Pub, Co.
________. (2008). Alfred’s group piano for adults. USA: Alfred Pub, Co.
Ornstein, C. A. & Hurkins, P. F. (2009). Curriculum: Foundations, Principles and Issues. (5th ed.). Boston: Pearson.
Patton, M. Q. (2002). Qualitative research & evaluation methods (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publication.
Shumway, S. (1984). Harmony and ear training at the keyboard. Dubuque, lA: W.C. Brown Publisher.
Suttachitt, N. (1987). An evaluative analysis of the form and content of the 1978 Thai elementary music curriculum. (Doctoral dissertation). IN: Indiana University.
Tayrattanachai, N. (2014). The study of piano pedagogy course content in Thailand. (Doctoral dissertation). Nakhon Pathom: Mahidol University.
Tyler, R. W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago press.
Wildman, J. M. (1982). A re-evaluation of keyboard harmony. Volume 22.
Retrieved from http://book-me.net/access/a-re-evaluation-of-keyboard-harmony-jstor.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว