เจดีย์คู่ของศาสนสถานในสมัยอยุธยา
คำสำคัญ:
สถาปัตยกรรม, สมัยอยุธยา, เจดีย์คู่บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการศึกษางานศิลปกรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมี ความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระบบแผนผังของศาสนสถานในสมัยอยุธยา โดยพิจารณาจากรูปแบบ งานศิลปกรรม ขนาดและตำแหน่งที่ตั้งของเจดีย์คู่ที่สามารถนำมาเป็นตัวกำหนดอายุสมัยของ ศาสนสถานแต่ละแห่ง โดยใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ศิลปะในการศึกษาวิเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้ แบ่งประเด็นออกเป็น 1) ความนิยมการทำเจดีย์คู่ พิจารณาจาก 1.1) ตำแหน่งที่ตั้งของเจดีย์คู่ พบทั้งเจดีย์คู่ ที่ตั้งอยู่หน้าอาคารหลังคาคลุมและเจดีย์คู่ ที่ตั้งอยู่ หลังอาคารหลังคาคลุม 1.2) รูปแบบลักษณะของเจดีย์คู่ พบว่า มีหลากหลายลักษณะดังนี้ เจดีย์ ทรงปรางค์ เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม เจดีย์ทรงระฆัง และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม แสดงให้เห็น พัฒนาการทางด้านรูปแบบศิลปกรรมที่อยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนกลางเป็นต้นมา ซึ่งสอดคล้อง กับประเด็นที่ 2) ที่มาและมูลเหตุการทำเจดีย์คู่ ที่สะท้อนถึงพัฒนาการของระบบแผนผังของวัด ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ที่ลดความสำคัญและขนาดของเจดีย์ประธาน แต่กลับให้ความสำคัญกับ อาคารหลังคาคลุม จนทำให้เจดีย์ที่มีขนาดและลักษณะเหมือนกัน 2 องค์ เป็นเพียงเจดีย์ประดับ ของวัด
References
ทรงวุฒิ ธรรมขันติ. (2542). รายงานการขุดค้น ขุดแต่งและออกแบบเพื่อการบูรณะวัดพระยาแมน: โครงการขุดแต่งบูรณะและปรับปรุงสภาพแวดล้อมโบราณสถานกลุ่มคลองสระบัว จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: ปุราณรักษ์.
ทิวา เผื่อนปฐม. (2543). พุทธสถาปัตยกรรมราชวงศ์บ้านพลูหลวง (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปัทมา วิชิตจรูญ. (2543). การศึกษาแผนผังวัดสมัยอยุธยาในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ใน คำให้การชาวกรุงเก่าคำให้การขุนหลวงหาวัด และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์. (2515). พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร: คลังวิทยา.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด). (2507). พระนคร: คลังวิทยา.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์. (2515). พิมพ์ครั้งที่ 5. พระนคร: สำนักพิมพ์บรรณาคาร.
รังสี อ่วมทอง และคนอื่นๆ. (2542). รายงานการขุดค้น ขุดแต่งและออกแบบเพื่อการบูรณะโบราณสถานวัดสีกาสมุด: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: สุรศักดิ์ก่อสร้าง.
กองโบราณคดี. (2530). รายงานการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานวัดสุวรรณาวาส (ร้าง) ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: โครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา.
สันติ เล็กสุขุม. (2529). เจดีย์เพิ่มมุม เจดีย์ย่อมุม สมัยอยุธยา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
บริบาลบุรีภัณฑ์. หลวง. (2511).“วัดพระศรีสรรเพชญ์” ใน พระราชวังและวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.พระนคร: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว