การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้: การบูรณาการแนวคิดเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การ

ผู้แต่ง

  • พงศกร ศรีรงค์ทอง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, องค์การแห่งการเรียนรู้, การจัดการความรู้

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การ ทำให้องค์การจำเป็นต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวเพื่อให้องค์การสามารถอยู่รอดได้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้เป็นแนวคิดที่มีความท้าทายสำหรับผู้บริหารในแง่ของความอยู่รอดขององค์การ แนวคิดทั้งสามมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการบริหารงานองค์การในปัจจุบัน โดยองค์การจะต้องบูรณาการแนวคิดทั้งสามนี้และนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานขององค์การ

การก้าวเข้าสู่องค์การแห่งการเรียนรู้เริ่มจากการให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องทำให้คนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และการที่จะพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ได้นั้น องค์การก็จะต้องมีการจัดการความรู้ขึ้น โดยต้องมีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบมีกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งการที่องค์การมีกระบวนการจัดการความรู้ที่ดีจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ต่อไป หากองค์การสามารถ บูรณาการแนวคิดทั้งสามไปประยุกต์ใช้การบริหารองค์การจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

References

จิรประภา อัครบวร. (2552). คุณค่าคน คุณค่างาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เต๋า.

ประเวศ วะสี. (2545). วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21: สู่ภพภูมิใหม่แห่งการพัฒนา. กรุงเทพฯ:
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

พระธรรมปิฎก. (2540). จะพัฒนาคนได้อย่างไร (พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์). กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก. (2542). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พรินท์ (1991) จำกัด.

Collison, C., & Parcell, G. (2004). Learning to fly: Practical knowledge management from leading and learning organizations. West Sussex: Capstone.

Delahaye, B. L. (2005). Human resource development (2nd ed.). Milton, Qld: John Wiley & Sons Australia, Ltd.

Gilley, J., W., & Eggland, S., A. (2002). Principles of human resource development. Reading, MA: Addison-Wesley Publishing Company.

Gorelick, C., Milton, N., & April. K. (2004). Performance through learning: Knowledge management in practice. Burlington: Elsevier Butterworth-Heinemann.

Marquardt, M. J. (2002). Global human resource development. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Marquardt, M. J., & Engel, D. W. (2002). Building the learning organization: Mastering the 5 elements for corporate learning. Palo Alto, CA: Davies-Black.

Schein, E. H. (2010). Organizational culture and leadership (4th ed.). San Francisco: Josey-Bass.

Senge. P. M. (2006). The fifth discipline: the art & practice of the learning organization. London: Random House Business Books.

Stacey, R. D. (2001). Complex responsive processes in organizations: Learning and knowledge creation. New York: Routledge.

Takeuchi, H., & Nonaka, I. (2004). Hitotsubashi on knowledge management (2nd ed.). Milton, Qld: John Wiley & Sons Australia, Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2018