ห้องเรียนคณิตศาสตร์กับการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล

ผู้แต่ง

  • ปรียา บุญญสิริ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ห้องเรียนคณิตศาสตร์, การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล, กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

ห้องเรียนคณิตศาสตร์กับการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากลเป็นบทความที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่มีการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล โดยมีสาระสำคัญ คือ 1) การจัดการเรียนรู้จำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์แก่นักเรียนทุกคน เนื่องจากในปัจจุบันนี้ พบว่า นักเรียนในแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันหลายด้าน ทั้งด้านความสามารถทางการเรียน อารมณ์และสังคม รวมทั้งด้านวัฒนธรรม 2) การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนควรมีการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ซึ่งมีความยืดหยุ่น 3 ประการคือ ยืดหยุ่นในการนำเสนอด้วยวิธีการหลากหลาย ยืดหยุ่นในด้านการกระทำและการแสดงออกโดยการให้โอกาสในการแสดงออกที่หลากหลายและยืดหยุ่นในการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความสนใจโดยให้อิสระในการเลือก การสนับสนุนให้มีความพยายามในการทำงาน และการเสริมสร้างทักษะการกำกับตนเอง

 แนวทางการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่ควรคำนึงถึง คือ การจัดการเรียนรู้จำเป็นต้องให้นักเรียนทุกคนเข้าถึงบทเรียนตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยใช้สื่อการเรียนรู้ ที่หลากหลาย อีกทั้งการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคนแต่ละประเภท รวมทั้งสร้างบรรยากาศที่ดี เอื้อต่อการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนสบายใจและมีความสุขในการเรียน การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากลจะช่วยให้นักเรียนในห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่มีความแตกต่างกันหลากหลายสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ทุกคน อันจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์และการพัฒนานักเรียนให้เรียนรู้ได้เต็มศักยภาพและมีความสุขในการเรียนทุกคน

References

คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2558). การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งความสำเร็จของนักเรียนทุกคนที่มี ความแตกต่าง. สืบค้นจาก https://www.sudaponpang.blogspot.com/2015/06/blog-post_66.html

ส่วนสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา. (2561). การตอบสนองต่อการเรียน การสอน (Response-to-Instruction) และการออกแบบการเรียนรู้ที่ใช้ได้ทั่วไป/ที่เป็นสากล (Universal Design for Learning): สองวิธีที่อาจขัดแย้งกันได้ในชั้นเรียนปกติ ตอนที่ 2 จาก Web ศูนย์สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ. สืบค้นจาก https://www.BRAILLE-CET.IN.TH

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในระดับ อุดมศึกษา เรื่องการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล. สืบค้นจาก https://www.mua.go.th

CAST. (2011). Universal Design for Learning Guidelines Version 2.0. Wakefield, MA: Author.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2018