การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกับจริยธรรมการวิจัย
คำสำคัญ:
การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน, การบิดเบือนข้อเท็จจริง, จริยธรรมการวิจัยบทคัดย่อ
จริยธรรมการวิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักวิจัยทุกสาขาที่ต้องยึดมั่นไว้เสมอ การกระทำที่ไม่ถูกต้องทำให้ผลงานวิจัยขาดความน่าเชื่อถือ เช่น การปลอมแปลงหรือบิดเบือนข้อเท็จจริง (Falsification) การลอกเลียนแบบโดยมิชอบผิดจริยธรรมการวิจัยในเรื่อง การโจรกรรมทางวรรณกรรม (Plagiarism) คือ การคัดลอกงานผู้อื่นมาแล้วไม่อ้างอิง
การวิจัยทางการศึกษามีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาการเรียนรู้ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนที่มุ่งแก้ปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ผู้สอนเป็นผู้วิจัยซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาชาติ พ.ศ. 2553 ที่ระบุว่าให้ผู้สอนใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
งานวิจัยที่ต้องการทดสอบสมมุติฐานและใช้สถิติทดสอบทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นสำหรับนักวิจัย คือ การที่นักวิจัยเขียนรายงานในขั้นการสุ่มตัวอย่างว่ามีการสุ่มและใช้สถิติ t-test การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะการศึกษาจากประชากรไม่มีการสุ่มตัวอย่างเหมือนการวิจัยทางการศึกษาที่ศึกษากับประชากรกลุ่มใหญ่ จึงไม่สามารถใช้สถิติทดสอบได้ ควรใช้สถิติบรรยาย เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ อาจใช้การนำเสนอด้วยแผนภูมิต่าง ๆ ประกอบ สามารถตอบสมมุติฐานได้โดยไม่ต้องผิดจริยธรรมด้านการบิดเบือนข้อเท็จจริง
References
กานดา พูนลาภทวี และวรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2546). การวิจัยในชั้นเรียนของครูในโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน: ตัวอย่างประสบการณ์ที่คัดสรร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ชัยพจน์ รักงาม. (2544). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน: ครูทุกคนทำได้ไม่ยาก. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: เฮาส์คอมเดอร์มิสจำกัด.
พิมพพันธ์ เดชะคุป และพเยาว์ ยินดีสุข. (2551). ทักษะ 5 c เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชิต สุรัตน์เรืองชัย. (2540). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม. (2549). การวิจัยในชั้นเรียน. นนทบุรี: สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟิก.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2556). จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2546). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว