การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อด้านสะเต็ม (STEM) ในระดับอุดมศึกษาของอดีตผู้แทนนักเรียนไทยที่ไปแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • รัดเกล้า นุ้ยแม้น สาขาวิชาวิทยาการเรียนรู้และนวัตกรรมการศึกษา คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การเลือกศึกษาต่อ, สะเต็ม, ผู้มีความสามารถพิเศษ, คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อด้านสะเต็มในระดับอุดมศึกษาของอดีตผู้แทนนักเรียนไทยที่ไปแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปี พ.ศ. 2546–2559 กลุ่มเป้าหมายจำนวน 184 คน โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงสำรวจที่มีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่มีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อด้านสะเต็มในระดับอุดมศึกษาของอดีตผู้แทนนักเรียนไทยที่ไปแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2546–2559 มากที่สุด คือ ความสนใจส่วนบุคคล (Personal Interest) รองลงมา คือ ประสบการณ์ในระดับมัธยมศึกษา (High School Experience) ตัวแปรที่มีผลเชิงลบต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อด้านสะเต็มของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ความเชื่อในความสามารถของตนเอง (Self-efficacy) และเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ (Attitude toward Science) ตัวแปรที่ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อด้านสะเต็มของกลุ่มเป้าหมาย คือผู้ปกครอง (Parent) ครู (Teacher) และเพื่อน (Peers)

References

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร. (2559). รับสมัครนักเรียนเข้าเรียนต่อระดับชั้น ม.1 ปีการศึกษา 2559. สืบค้นจาก https://www.pccm.ac.th/2015/article_content.php?id=227

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยไปแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: รุ่งโรจน์การพิมพ์.

อเด็คโก้ (Producer). (2560). ผลสำรวจอาชีพในฝันเด็กไทยครั้งที่ 8 ประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://adecco.co.th/th/knowledge-center/detail/adecco-thailand-children-survey-2017

Brooks, K. (2010). You majored in what?: Mapping your path from chaos to career. New York: Penguin.

Gagné, F. (2000). A differentiated model of giftedness and talent (DMGT). Systems and models for developing programs for the gifted and talented, 25(2), 171–172.

Ginzberg, E. (1952). Toward a theory of occupational choice. Occupations: The Vocational Guidance Journal, 30(7), 491-494.

Lee, J., Park, S.-K., & Kim, Y.-M. (2012). An analysis of educational factors on career choice of science-gifted students to science and technology bound universities. Journal of the Korean Association for Science Education, 32(1), 15-29.

Lent, R. W., Brown, S. D., & Hackett, G. (1994). Toward a unifying social cognitive theory of career and academic interest, choice, and performance. Journal of vocational behavior, 45(1), 79-122.

Miller, M. A. (1995). Culture, spirituality, and women's health. Journal of Obstetric, Gynecologic, and Neonatal Nursing, 24(3), 257-264.

Thailand Management Association. (2016). Thailand Competitiveness 2016: The IMD Perspective. Retrieved from https://www.tma.or.th/2016/download_detail.php?id=9

Wang, X. (2013). Why students choose STEM majors: Motivation, high school learning, and postsecondary context of support. American Educational Research Journal, 50(5), 1081-1121.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2018