การพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบการฝึกอบรมฐานสมรรถนะ
คำสำคัญ:
สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, หลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับผู้สูงอายุ 2) ศึกษาระดับสมรรถนะและข้อจำกัดในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของ ผู้สูงอายุ 3) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมฐานสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมฐานสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับ ผู้สูงอายุ ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย จำนวน 400 คน โดยใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และทดลองใช้หลักสูตรการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศระดับพื้นฐานจำนวน 20 คน และระดับสูงจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสมรรถนะและข้อจำกัดในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร และ 3) แบบสอบถาม ความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านการจัดการข้อมูล ด้านสังคมออนไลน์ ด้านความปลอดภัยด้านการบูรณาการในชีวิตประจำวัน และด้านคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ 2) ผู้สูงอายุมีสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ มีข้อจำกัด ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคือ ขาดความรู้มากที่สุด รองลงมาคือ ขาดประสบการณ์ 3) หลักสูตร การฝึกอบรมฐานสมรรถนะระดับพื้นฐานประกอบด้วย 6 โมดูล และระดับสูงประกอบด้วย 12 โมดูล โดยภาพรวมหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก และทุกโมดูลมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก 4) ค่าเฉลี่ยสมรรถนะหลังจากการฝึกอบรมทั้งหลักสูตรระดับพื้นฐานและระดับสูง สูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของผู้เข้ารับ การฝึกอบรมหลักสูตรระดับพื้นฐานและระดับสูง อยู่ในระดับมากและมากที่สุดตามลำดับ
References
กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.
จันทนา ทองประยูร. (2552). สื่ออินเตอร์เน็ตกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2560, จาก https://sites.google.com/site/ictforallorg/Home/Internet_and_the_Development_of_the_Senior_Citizens_Quality_of_Life.pdf?attredirects=0.
จารุวรรณ พิมพิค้อ. (2552). การใช้และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มข, 27(1-3), 79-88.
ชนะ กสิการ์. (2548). หลักการศึกษาและการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมของ UNESCO (2548). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ฐิตินันทน์ ผิวนิล. (2559). การเข้าถึงบริการโทรคมนาคมและการสื่อสารของผู้สูงอายุไทย. วารสารกสทช. ประจำปี 2559, 411-441.
ดุสิต ขาวเหลือง. (2554). การฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 7(1), 18-31.
นันทิช ฉลองโกศศิลชัย และหทัยชนก สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมการใช้เฟซบุค (Facebook) ของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. (จุลนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ภูเบศ เลื่อมใส. (2560). การพัฒนาแบบจำลองการฝึกอบรมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 284-295.
วิชชาพรรณ กิ่งวัชระพงศ์. (2554). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านการโรงแรมและบริการงานบริการส่วนหน้าตามมาตรฐานวิชาชีพอุตสาหกรรมการโรงแรม. วารสารวิชาการพระจอมเหล้าพระนครเหนือ, 21(2), 377-385.
สมาน ลอยฟ้า. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใหญ่ในชนบท. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 21(2), 18-28.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency Based Learning. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์จํากัด(มหาชน).
สุรศักดิ์ มังสิงห์ และ จารุวรรณ มณฑิราช. (2555, ตุลาคม). การศึกษาความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ประจำปี 2555 (น. 12-19). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557ก). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557ข). รายงานเชิงวิเคราะห์เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
อารีย์ มยังพงษ์. (2556). สภาพความต้องการการฝึกอบรมด้าน ICT ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Community Development Research 2013, 6(1), 108-119.
Best, J. W. (1977). Research in Education. USA.: Prentice-Hall.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed). New York: Harper & Row.
Fred, D. D. (1989), Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13 (3): 319–340.
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for "Intelligence". American psychologist, 28(1), 1-14.
Vuorikari, R., Punie, Y., Carretero, S., & Van den Brande, G. (2016). DigComp 2.0: The digital competence framework for citizens. Update phase 1: The conceptual reference model. สืบค้น 15 มิถุนายน 2560, จาก https://publications.jrc.ec.europa.eu/repository/bitstream/JRC101254/jrc101254_digcomp%202.0%20the%20digital%20competence%20framework%20for%20citizens.%20update%20phase%201.pdf.
Yamanae, T. (1967). Statistics, an introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว