รูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐภรณ์ เสารยะวิเศษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การสอน, ปัจจัย, องค์ประกอบ, การรู้สารสนเทศ, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย ประชากร ได้แก่ นักศึกษา ระดับปริญญาตรี ระดับชั้นปีที่ 1-5 ประจำปีการศึกษา 2555 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างได้จาก วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 398 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 8 แห่ง แบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ของครอนบาค คือ 0.846 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2555 สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และ 3) ศึกษารูปแบบการสอน การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย โดยใช้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรู้สารสนเทศ จำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 2 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนรูปแบบ การสอน จำนวน 2 คน ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีการรู้สารสนเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 17 ตัวชี้วัด 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในประเทศไทยโดยภาพรวม ได้แก่ ประสบการณ์การค้นสารสนเทศ คณะ วัตถุประสงค์การค้นคว้า และประสบการณ์การเรียนการใช้ห้องสมุด ตามลำดับ และ 3) รูปแบบการสอนการรู้สารสนเทศ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย เรียกว่า “TAEPE Model” ประกอบด้วย 3.1) การกำหนดภาระงานและแหล่งสารสนเทศ 3.2) การเข้าถึงสารสนเทศ 3.3) การประเมินและสังเคราะห์สารสนเทศ 3.4) การนำเสนอสารสนเทศ และ 3.5) จริยธรรม ในการใช้สารสนเทศ

References

ชุติมา สัจจานันท์. (2544). การรู้สารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาคนไทยและสังคมไทย. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 14 (3), 50-63

ดวงกมล อุ่นจิตติ. (2546). การประเมินการรู้สารสนเทศของนิสิตปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 12(15), 85-102.

ธัญญาปกรณ์ นิมิตประจักษ์. (2547). ความรู้ความสามารถด้านการรู้สารสนเทศและคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานสำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี ความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น (รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2547). ค้นเมื่อ 24 กันยายน 2552, จาก https://www.sobkroo.com/csob_7.htm

มุจรินทร์ ผลกล้า. (2549). การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

สมาน ลอยฟ้า. (2545). การสอนการใช้ห้องสมุด: พัฒนาการและแนวโน้ม. วารสารห้องสมุด, 46(2), 20-30.

สัจจารีย์ ศิริชัย. (2552). การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุดาวดี ศรีสุตตา. (2549). การรู้สารสนเทศของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สุพิศ บายคายคม. (2550). การรู้สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อังคณา แวซอเหาะ และสุธาทิพย์ เกียรติวานิช. (2553). การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2550). การพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

Association of College and Research Librarian. (2001). Information literacy competency standards of higher education. Retrieved November 3, 2005, from https://www.ala/acrl/ilstandarddlo.html

Australian Library and Information Association. (2003). A library advocate’s guide to building information literate communities. Retrieved December 15, 2005, from https://www.alia.org.au/ policies/information.literacy.html

Central Queensland University. (2001). CAUL Information Literacy Assessment Research Project. Retrieved February 6, 2006, from https://www.caul.edu.au/content/upload/files/meetings/ caul20012info-lit...

Donnelly, E. A. (1998). A preschool readiness prototype model: From a comparative analysis of exemplary preschool readiness programs. USA: The University of Memphis.

Eisenberg, M. B., Lowe, C. A., and Spitzer, K. L. (2004). Information literacy: Essential skills for the information age. (2nd ed). CT: Libraries Unlimited.

Kurbanoglu, S. S. (2003). Self-efficacy a concept closely linked to information literacy and lifelong learning. Journal and Documentation, 59(6), 635-646.

Lau, J. (2004). International guideline on information literacy. Retrieved February 6, 2006, from https://bivir.uacj.mx/dhi/DoctosNocioInter/Docs/Guidelines.pdf

Nimon, M. (2002). Developing lifelong learners: Controversy and the educative role of the academic librarian. Australian Academic & Research Libraries, 33(1), 14-24.

Plotnick, E. (1999). Information Literacy. ERIC Digest. (February), 1-4.

The Florida International University. (2002). Information literacy at FIU. Retrieved January 20, 2006, from https://www.fiu.edu/library/ili/index.html# anchor4298548

The University of Rhode Island. (2000). School Library Media Certification Program. Retrieved December 15, 2005, from https://www.uri.edu/programs/program/school-library-media-certification-program/

Yamane, T. (1967). Statistics, an introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2019