การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเทคนิคการสอนแบบร่วมมือ (Learning Together: LT) สำหรับการเรียนการสอนวิชาการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางธุรกิจ ในยุคไทยแลนด์4.0

ผู้แต่ง

  • ชนินทร์ พุ่มบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

เทคนิคการสอนแบบกลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน Learning Together, ผลการเรียนรู้, การคิดสร้างสรรค์, นวัตกรรมทางธุรกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ โดยเปรียบเทียบทั้งก่อนและหลังเรียนที่นำรูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนแบบกลุ่มเรียนรู้ ร่วมกัน (Learning Together: LT) มาใช้ในรายวิชาการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางธุรกิจ และ 2. ศึกษาผลของการใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) กับ ความพึงพอใจในการเรียนวิชาการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางธุรกิจ กลุ่มเรียน 101 ของ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 42 คน แขนงวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยใช้เทคนิคการสอนแบบกลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) ในการศึกษาพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงปริมาณในการทดสอบ โดยใช้เครื่องมือสถิติในการศึกษาเป็นรูปแบบของแบบประเมินวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และใช้การทดสอบสมมติฐานทางการวิจัยด้วยสถิติ t-test กับประชากร กลุ่มเดียว ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มประชากรที่ผู้สอนใช้เทคนิค การสอนแบบกลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกัน โดยมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมี ความพึงพอใจในเทคนิคการสอนแบบกลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together: LT) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

References

กรธวัฒน์ สกลคฤหเดช,สุมนา จันทราช, ธีรโชติ สัตตานิคม, และรจนา แสงตาล (2560). รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ Learning Together ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาบริหารธุรกิจ. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.

กัลยา แก้วมา. (2558). ผู้บริหารกับบทบาทการส่งเสริมการสร้างสรรค์องค์ความรู้ในองค์กร. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2(1), 10-11.

กฤษณา คิดดี. (2536). การพัฒนาแบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีรินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ชัยทัศน์ ศิริเปารยะ. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นของ นักศึกษา สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รายวิชาการตลาดเพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว (รายงานการวิจัยในชั้นเรียน). สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประชาชาติธุรกิจ. (2018). การศึกษาไทยยุค 4.0 “ห้องเรียนที่ดีต้องปฏิสัมพันธ์กัน”. สืบค้นวันที่ 6 ธันวาคม 2561, จาก https://www.prachachat.net/education/news-245331.

ประภาพรรณ เส็งวงศ์ .(2550). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: อี. เค. บุคส์.

พิณพนธ์ คงวิจิตต์. (2555). ครูกับการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. วารสารครุศาสตร์, 40(2), 273-278.

ไพศาล แสนพันดร, นวลใจ โคตรแสง และศศิธร แสนพันดร. (2560). รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 “นวัตกรรมสร้างสรรค์ ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ไทยแลนด์ 4.0”. ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

ภัทรวดี ทองจินดา. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับการทำโครงงานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทำงานและกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

สุภณิดา ปุสุรินทร์คํา. (2552). “ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e-Learning". นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สุรชัย โฆษิตบวรชัย. (2560). ทักษะการทำงานเป็นทีม. สืบค้นวันที่ 16 สิงหาคม 2561, จาก http://www.drsurachai.com/ทักษะการทำงานเป็นทีม-เพ/.

ไสว ฟักขาว. (2544). หลักการสอนสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฎ-จันทรเกษม.

โสรัจจ์ แสนคำ. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(1). 1506-1522.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อารยา ปันจะมาวัด.(2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง ในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี.รายงานการวิจัย สาขาธุรกิจและ คอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไอดา ยาคอ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค LT (Learning Together) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 3(1), 31-42.

Catmull, E. (2008). “How Pixar fosters collective creativity.” Harvard Business Review, 86: 64-72.

Hobri, Dafik, & Hossain, A. (2018). The implementation of learning together in improving students’ mathematical performance. International Journal of Instruction, 11(2), 483–496.

Imel, S. (1991). Ethical practice in adult education. ERIC Digest, 116, 1-8.

Kaufman, S. (2014). Learning together. Schools: Studies in Education, 11(2), 263–305.

Masika, R., & Jones, J. (2016). Building student belonging and engagement: Insights into higher education students’ experiences of participating and learning together. Teaching in Higher Education, 21(2), 138–150.

Maytwin P., (2018). 21st-Century Skill: ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นวันที่ 19 สิงหาคม 2561, จาก https://medium.com/base-the-business-playhouse/21st-century-Skill.

Schwager, S., Glaser, A., Wick, K., & Berger, U. (2019). Healthy learning together.; Development of a Tool for Schools to Prevent Psychological Problems among Children and Adolescents., 14(1), 3-8.

Sorensen E.K. & Andersen. H.V. (2017). Solitude or co-existence–or learning-together-apart with digital dialogic technologies for kids with developmental and attention difficulties. EAI Endorsed Transactions on Creative Technologies, 4(12), 1-10.

Thepouyporn, C. (2017). การศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นวันที่ 19 สิงหาคม 2561, จาก https://km.li.mahidol.ac.th/thai-studies-in-thailand-4-0/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2020