การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

ผู้แต่ง

  • นิรมล ชอุ่ม สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ชั้นปีที่ 2–5 ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์

     ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีระดับการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ใน ระดับสูง ร้อยละ 42.90 รองลงมามีการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับสูงมาก ร้อยละ 29.70 มีการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 23.20 และมีการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 4.20 ตามลำดับ และ 2) การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับเพศ ระดับชั้นและผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). ร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 3) ของประเทศไทย พ.ศ. 2557–2561. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2561, จาก http://itc.ddc.moph.go.th

ปวริศ สารมะโน. (2559). การพัฒนาโปรแกรมประเมินการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ภาสกร เพ็ชรประไพ. (2548). การศึกษาความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (2561). จำนวนนักศึกษา. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2561, จาก http://reg.chandra.ac.th

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ความพร้อมของสถานศึกษาและบุคลากรด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2561, จาก http://www.nso.go.th/

ศลิษา เลี่ยมสุวรรณ. (2555). การเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสารสนเทศ). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี.

อรรถพล กิตติธนาชัย. (2555). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สัมพันธ์ต่อสมรรถนะ ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) (ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

เอกราช เครือศรี. (2558). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 25(32), 202-209.

Macklin, S. A. (2007). iSKills and ICT literacy assessment: Building a case for collaboration between school and academic librarians. Retrieved April 16, 2010, from http://eric.ed.gov/ERICDocs/data/ericdocs2sql/content_storage_01/0000019b/80/43/41/c8.pdf

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2020