องค์การแห่งการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทยผ่านความได้เปรียบในการแข่งขันและความสามารถของผู้ประกอบการ
คำสำคัญ:
องค์การแห่งการเรียนรู้, ความได้เปรียบในการแข่งขัน, ความสามารถของผู้ประกอบการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ขององค์การแห่งการเรียนรู้ ความได้เปรียบในการแข่งขัน ความสามารถของผู้ประกอบการ และผลการดำเนินงานของ องค์การวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย 2) ศึกษาความได้เปรียบในการแข่งขัน และ ความสามารถของผู้ประกอบการสามารถเป็นบทบาทการส่งอิทธิพลผ่าน (Mediating role) ระหว่างตัวแปรองค์การแห่งการเรียนรู้ และผลการดำเนินงานขององค์การวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย และ 3) ทดสอบตัวแบบเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีต่อ ผลการดำเนินงานในบริบทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย โดยเปรียบเทียบกับข้อมูล เชิงประจักษ์ ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางของกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้ค่า t-value เกิน 1.96 โดยการทดสอบตัวแบบแสดงให้เห็นว่าสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ส่วนการทดสอบตัวแปรความได้เปรียบในการแข่งขัน และความสามารถของผู้ประกอบการ มีบทบาทการส่งอิทธิพลผ่านระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้และผลการดำเนินงานขององค์การ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรด้านองค์การแห่งการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบ ในการแข่งขัน ความสามารถของผู้ประกอบการ และผลการดำเนินงานวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมไทย 2) ความได้เปรียบในการแข่งขันและความสามารถของผู้ประกอบการก็มีผลกระทบ ทางตรงต่อผลการดำเนินงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย นอกจากนี้องค์การแห่ง การเรียนรู้ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานเช่นกัน 3) การทดสอบตัวแบบดังกล่าว สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแสดงให้เห็นว่าองค์การแห่งการเรียนรู้ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยผ่าน ความได้เปรียบในการแข่งขันและความสามารถของผู้ประกอบการได้อย่างมีนัยสำคัญ
References
ฐิติพร วรฤทธิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชี ความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs. ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ดำรงค์ วัฒนา. (2542). สถิติประยุกต์: สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางรัฐประศาสนศาสตร์และ รัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง.
พนิตสุภา ธรรมประมวล, (2550). ความสำเร็จทางการตลาดสำหรับน้ำสมุนไพรพร้อมดื่ม: กรณีศึกษากลุ่มแปรรูปน้ำสมุนไพรพร้อมดื่ม ในภาคกลางของประเทศไทย (ปริญญา นิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2548). องค์การแห่งการเรียนรู้และการบริหารความรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อริยชน.
สาโรจน์ แก้วอรุณ. (2553). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การเป็นองค์การแห่ง การเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 4(1), 17-22.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สามลดา.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2554). แผนการส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559). สืบค้นจาก library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-008.pdf
_________. (2556). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตุลาคม 2556. สืบค้นจาก www.sme.go.th/upload/mod.../whitepaper-month-10-2556-20171024160625.pdf
หทัยกาญจน์ จันทะเสน. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจของ ผู้ประกอบการวิสาหกิจประเภทการผลิตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อาภรณ์ ลำมะนา, จินดารัตน์ ปีมณี, และนิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่าง คุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้และผลการดำเนินงานของสาขาธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน). วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(1), 1-12.
Baumback, C. M. (1988). How to organize and operate a small business. New Jersey: Prentice-Hall.
Davenport, T. H., & Prusak, L. (1999). Working knowledge: How organizations manage what they know. Boston: Harvard Business School Press.
Davis, D. (2005). The learning organization and its dimensions as key factors in firm performance (Doctoral dissertation). University of Wisconsin–Madison, Wisconsin.
Ellinger, A., Yang B., & Howton S. (2002). The relationship between the learning organization concept and firms’ financial performance: An empirical assessment. Human Resource Development Quarterly, 13(1), 5-29.
Hatten, T. (2009). Small business management. New York: Houghton Mifflin.
Herrera, D. (2003). A validation of the learning organization as a driver of performance improvement (Doctoral dissertation). Capella University, Minnesota.
Jashapara, A. (1993). The Competitive Learning Organization: A Quest for the Holy Grail. Management Decision, 31(8), 16-33.
Marquardt, M. J. (2002). Building the learning organization: Mastering the 5 elements for corporate learning (2nd ed.). Palo Alto, CA: Davies-Black.
Pang-Lo, L., Wen-Chin, C., & Chin-Hung T. (2004). An Empirical Study on the Industries. Technovation, 24(12), 971-977.
Weldy, T. G. (2009). Learning organization and transfer: Strategies for improving performance. The Learning Organization, 16(1), 58-68.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว