สถานการณ์และคุณภาพชีวิตด้านเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของแรงงานสัญชาติพม่าในจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม, แรงงานสัญชาติพม่า, จังหวัดนครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ด้านเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของแรงงาน สัญชาติพม่าในจังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) คุณภาพชีวิตด้านเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของแรงงาน สัญชาติพม่าในจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์เชิงลึก แรงงานสัญชาติพม่าเพื่อนแรงงานคนไทย ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ รวมทั้งสิ้น 21 คน เลือกแบบเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาวิเคราะห์ และเชิงปริมาณมีประชากรและ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ แรงงานสัญชาติพม่า จำนวน 350 คน ใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดย โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ด้านเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของแรงงานสัญชาติพม่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถ ปรับเปลี่ยนไปตามโอกาสต่าง ๆ ได้แก่ การแต่งกายในเวลาทำงานที่ต้องแต่งกายแบบมิดชิด และปลอดภัย ส่วนใหญ่นายจ้างจะเป็นผู้จัดหามาให้ เช่น กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว รองเท้าบูท หมวกป้องกันอันตรายและผ้าปิดจมูก หากแต่งกายไม่เรียบร้อยในเวลาทำงานจะมีบทลงโทษ เช่น ตักเตือน หรือปรับเงินครั้งละ 1,000 บาท การแต่งกายเมื่ออยู่ที่พักหรือนอกเวลางานจะแต่งตัว เน้นความสะดวกสบาย เช่น ผู้ชายใส่โสร่งกับเสื้อกล้าม ส่วนผู้หญิงใส่ผ้าถุงพื้นบ้านกับเสื้อ ลวดลายการแต่งกายช่วงวันหยุด ไปท่องเที่ยว หรือไปซื้อของใช้ในห้างสรรพสินค้าจะแต่งตัว ตามสมัยนิยม เช่น เสื้อยืด กางเกงยีนส์ และรองเท้าผ้าใบ ส่วนการแต่งกายในวันสำคัญทาง พุทธศาสนา ไปวัดทำบุญหรือเทศกาลในท้องถิ่นจะแต่งตัวเรียบร้อยกว่าปกติ เช่น นุ่งโสร่งทอมือ ผ้าถุงลวดลายพม่าหรือผ้าพื้นถิ่นภาคใต้และ 2) คุณภาพชีวิตด้านเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของแรงงาน สัญชาติพม่าในจังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.27, SD = 0.57)
References
กระทรวงแรงงาน. (2561). แนวทางในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ OSS และ ศปก.บต. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
เดโช แขน้ำแก้ว, พระสุธีรัตนบัณฑิต และปาริชาติ วลัยเสถียร. (2562). แรงงานข้ามชาติ: คุณภาพชีวิตและการสร้างคุณค่าบนประสบการณ์ ณ ถิ่นปลายทาง กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 305-325.
เดโช แขน้ำแก้ว. (2562). แรงงานพม่า: คุณภาพชีวิตและการสร้างความหมายใหม่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์. (2558). ย้อนมองสถานการณ์แรงงานข้ามชาติในรอบปี 2558. กรุงเทพฯ: รัฐสภาสาร.
พระมหาอดิเดช สติวโร, ธรรณปพร หงษ์ทอง, สุเมธ บุญมะยา, พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโทและสุรีย์พร แซ่เอี๊ยบ. (2560). พฤติกรรมกลุ่มเชิงพุทธของแรงงานข้ามชาติชาวพม่ากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 24(4), 1112-1228.
มนธร หิรัญญิก. (2562). การแต่งกายของประเทศสมาชิกอาเซียนและผลกระทบด้านวัฒนธรรมการแต่งกายในประเทศไทย [บทวิเคราะห์]. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2562, จาก http://monthonhiranyik.blogspot.com/
มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน. (2559). สหภาพแรงงานกับการปกป้องสิทธิแรงงานข้ามชาติ [บทวิเคราะห์]. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2562, จาก http://aromfoundation.org/2016/สหภาพแรงงานกับการปกป้อง/
แรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2561). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: สำนักงานแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช.
วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี และพีสสลัลฌ์ ธำรงศ์วรกุล. (2561). คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุหญิง. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(4), 110-125.
ศิริชัย เพชรรักษ์ และชยสร สมบุญมาก. (2559). ตลาดแรงงานของไทยในอนาคต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 99-113.
สุทธิพร บุญมาก. (2560). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Cochran, W.G. (1997). Sampling techniques. New York: John Wiley & sons.
Herzberg, F. & Mausner, B. (1959). Motivation to Work. New York: McGraw-Hill.
Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological review, 50(4), 370.
Ritchie, J. & Lewis, J. (2003). Qualitative Research Practice. London: Sage.
Vroom, V.H. (1964). Work and Motivation. New York: Jonh Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว