การดำรงอยู่ของความเชื่อต่อหลวงพ่อเปี่ยม อินทสุวรรณโณ ของคนในท้องถิ่นทุ่งหลวง

ผู้แต่ง

  • ฐากร สิทธิโชค สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
  • วิทวัส นิดสูงเนิน ข้าราชการครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, โครงสร้างและหน้าที่, การสร้างสำนึกร่วม, หลวงพ่อเปี่ยม อินทสุวรรณโณ

บทคัดย่อ

            การศึกษาการดำรงอยู่ของความศรัทธาต่อหลวงพ่อเปี่ยม อินทสุวรรณโณ ของคน ในท้องถิ่นทุ่งหลวง เพื่อทำความเข้าใจ บุคคลที่ได้รับการยอมรับ ทำให้ผู้คนในท้องถิ่นและบริเวณ โดยรอบ เกิดความเชื่ออย่างมาก ในการศึกษาใช้ข้อมูลจากเอกสารมุขปาฐะและหลักฐานที่เป็น ลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากผู้คนที่อยู่ในยุคร่วมสมัย และศึกษาจาก คำบอกเล่าของบุคคลในท้องถิ่น ตลอดจนเอกสารทุติยภูมิ ทั้งนี้หลวงพ่อเปี่ยมมีความสำคัญ ในการวางระบบการศึกษาท้องถิ่น ทั้งยังเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวหน้าและ ยั่งยืนมาถึงปัจจุบัน หลวงพ่อเปี่ยม อินทสุวรรณโณ เป็นพระเกจิที่ได้รับการยกย่องจากพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ซึ่งเป็นสหายคู่พี่น้องจากสำนักสายเขาอ้อที่มีส่วนสำคัญในการใช้คาถาอาคมเวทมนตร์ และวาจาช่วยเหลือผู้คนจำนวนมากจนเป็นที่เลื่องลื่อ การทำงานชุดความเชื่อของชาวบ้านผ่าน สถาบันทางสังคมที่มีส่วนในการสร้างสำนึกร่วมภายใต้ผู้นำสำคัญหลวงพ่อเปี่ยมมีอิทธิพลต่อ การพัฒนาตำบลทุ่งหลวงให้ดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ทุ่งหลวงเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ ที่ชุมชนต่าง ๆ ให้การยอมรับและเข้ามาสัมพันธ์ ตลอดจนการเข้าแวะเคารพบูชา เพราะความศรัทธาที่มีต่อท่าน ยังทรงพลังของการสร้างสำนึกร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ท้องถิ่นและชุมชน

References

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎี เศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

เดือน ดำดี. (2541). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทศบาลตำบลทุ่งหลวง. (2558). บุคคลสำคัญของท้องถิ่นทุ่งหลวง. สุราษฎร์ธานี: โรงพิมพ์สุพจน์การพิมพ์.

เทศบาลตำบลทุ่งหลวง. (2559). ข้อมูลสารสนเทศเทศบาลตำบลทุ่งหลวง. สุราษฎร์ธานี: โรงพิมพ์สุพจน์การพิมพ์.

นิพันธ์ ศิริธร. (2555). พัฒนาการทางสังคม-ความเชื่อและพิธีกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบเพลิง.

ภัทรพร สิริกาญจน์. (2540). ความรู้พื้นฐานทางศาสนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัดทุ่งหลวง. (2558). รายงานการดำเนินงานจัดงานหลวงพ่อเปี่ยมประจำปี 2558. สุราษฎร์ธานี: โรงพิมพ์สุพจน์การพิมพ์.

ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาสังคมวิทยาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานแรงงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2559) ข้อมูลสารสนเทศแรงงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: สำนักพิมพ์สุราษฎร์การพิมพ์.

เสฐียร พันธรังษี. (2555). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมะอินเทรนด์.

อานันท์ กาญจนพันธ์. (2552). ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม การทะลุกรอบคิดและกับดักของความคิดแบบคู่ตรงกันข้าม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

อำเภอเวียงสระ. (2559). ข้อมูลสารสนเทศอำเภอเวียงสระ. สุราษฎร์ธานี: โรงพิมพ์สุพจน์การพิมพ์.

Durkheim, E. (1947). The division of labor in society, trans. New York: Free Press.

Henslin, J. (1993). Essentials of sociology: a down-to-earth approach. Boston, MA: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021