ประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการโอนข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างประเทศ ตามความตกลงสหรัฐอเมริกาและยุโรปและผลกระทบต่อกฎหมายไทย

ผู้แต่ง

  • อัครเดช มณีภาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • คณาธิป ทองรวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันกฎหมายสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

ประเด็นทางกฎหมาย, โอนข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างประเทศ ตามความตกลงสหรัฐอเมริกาและยุโรป, ผลกระทบต่อกฎหมายไทย

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลและ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นพื้นฐานที่มาของกฎหมายการโอนข้อมูลระหว่างประเทศ 2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการโอนข้อมูลระหว่างประเทศของสหภาพยุโรปและความตกลง ระหว่างยุโรปกับสหรัฐอเมริกาที่มีผลกระทบต่อกฎหมายไทย และ 3) เสนอแนะการปรับปรุง กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมกับการคุ้มครองข้อมูลและสอดคล้องกับหลักกฎหมาย ระหว่างประเทศ มีผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 10 คน ได้แก่ นักวิชาการ/ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมาย จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน จำนวน 2 คน ทนายความ จำนวน 1 คน พนักงานอัยการ จำนวน 1 คน และตำรวจ จำนวน 1 คน

           ผลการวิจัยพบว่า 1) การโอนข้อมูลส่วนบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีข้อจำกัดทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งส่งผลให้เกิด อุปสรรคและปัญหาทางกฎหมายระหว่างประเทศที่มีหลักการแตกต่างกัน ดังจะเห็นได้จาก ประเด็นกฎหมายการโอนข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างประเทศตามความตกลงสหรัฐอเมริกาและ ยุโรป ซึ่งส่งผลกระทบต่อกฎหมายไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 2) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นปัญหา ของกฎหมายไทยในปัจจุบันหลายประการ เช่น ความแตกต่างระหว่างกฎหมายไทยกับกฎหมาย สหภาพยุโรปในประเด็นเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูล การบูรณาการหลักการคุ้มครองข้อมูล ในหลายขั้นตอน และ 3) กฎหมายยุโรปและคำพิพากษาศาลยุโรปกำหนดเกณฑ์การโอนข้อมูล ไว้หลายประการ รวมถึงสภาพแวดล้อมทางกฎหมายของประเทศผู้รับโอนข้อมูลที่ไม่ควรมี กฎหมายให้อำนาจรัฐล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หลักการนี้เห็นได้จากคำพิพากษาที่ศาลยุโรป ตัดสินว่าความตกลงการโอนข้อมูลระหว่างสหรัฐอเมริกาและยุโรปสิ้นผลบังคับ (Case C-362/14)

References

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2560). การปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Cate, F. H. (1995). The EU Data Protection Directive, Information Privacy, and the Public Interest. Iowa L. Rev, 80, 431-443.

Fromholz, J. M. (2000). The European Union data privacy directive. Berkeley technology law journal, 15(1), 460-484.

Greenleaf, G. (2012). The influence of European data privacy standards outside Europe: Implications for globalization of Convention 108. International Data Privacy Law, 2(2), 2011-2039.

Hailbronner, K., Papakonstantinou, V., & Kau, M. (2008). The Agreement on Passenger-Data Transfer (PNR) and the EU-US Cooperation in Data Communication. International migration, 46(2), 187-197.

Long, W. J., & Quek, M. P. (2002). Personal data privacy protection in an age of globalization: the US-EU safe Harbour compromise. Journal of European Public Policy, 9(3), 325-344.

Pearson, S., & Benameur, A. (2010). Privacy, security and trust issues arising from cloud computing. In Cloud Computing Technology and Science (CloudCom), 2010 IEEE Second International Conference on IEEE, Indiana, USA.

Schwartz, P. (1994). European data protection law and restrictions on international data flows. Iowa L. Rev, 80, 471-496.

Warren, D. S., & Brandies, D. (1890). The Right to Privacy. Harvard Law Review, 4(5), 193-220.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2021