ความสัมพันธ์ของ กลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์ทางการแข่งขัน และคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม (อาคารชุด)
คำสำคัญ:
กลยุทธ์ทางการตลาด, กลยุทธ์ทางการแข่งขัน, คุณค่าตราสินค้าบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทาง การแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด และ 2) วิเคราะห์ความสอดคล้อง ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคาร ชุดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การศึกษาใช้กระบวนการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed Method) ใช้การศึกษาเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง (คำนวณจากสูตร Cochran,1953) ใช้วิธีวิเคราะห์ทาง สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์รูปแบบสมการเชิงโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด ได้แก่ กลยุทธ์ทางการตลาด คุณค่าตราสินค้า และกลยุทธ์ ทางการแข่งขัน โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.84, 0.55 และ 0.50 ตามลำดับ และ 2) ผล การวิเคราะห์ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของรูปแบบเชิงสมมติฐานของความได้เปรียบ ทางการแข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุด พบว่า โมเดลมีความสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2563). ข้อมูลสภาตำบลประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
จินตนัย ไพรสณฑ์. (2556). การจัดการการผลิตและการปฏิบัติการ = Operations management. นนทบุรี: กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิค.
ฉลองศรี พิมลสมพงษ์.(2542).การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). การกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินของ ธปท. ธนาคารแห่งประเทศไทย, กระทรวงการคลัง. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2562, จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstituions/Policy/Pages/default.aspx.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานเศรษฐกิจและการเงิน. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2562, จาก https://www.bot.or.th/Thai/Pages/default.aspx.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์, (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.
ภาวนา สายชู. (2554). คู่มือสำหรับนักบริหารและนักศึกษาปริญญาโท. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท จำกัด.
ยูรีเสิร์ช. (2562). แนวโน้มการเติบโตของรายได้รวม กำไร (ขาดทุน) และสินทรัพย์รวม ยูรีเสิร์ช. การวิจัยตลาดและการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (ประชามติ).
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ ศุภร เสรีรัตน์. (2542). การวิจัยตลาด: ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2563). รายงานประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: พร็อพทูมอร์โรว์.
สิริภา กิจประพฤทธิ์กุล. (2556).ส่วนประสมทางการตลาดบริการ ทัศนคติ และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศเกาหลีของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์:แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อดุลย์ จาตุรงค์กุล. (2555). การบริหารการตลาดกลยุทธ์และยุทธวิธี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อธิป พีชานนท์. (2563). วิพากษ์ อสังหาฯผ่าวิกฤติโควิค. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/898897.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: N.J Wiley.
Dunn, M., Norburn, D., & Burley, S. (1994). The impact of organisational values, goals and climate on marketing effectiveness. Journal of Business Research, 30(2): 131-141.
Hair, J. F., & Jr. Black, W. C., & Babin, B. J., & Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (1998). Multivariate data analysis. (6th ed). New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P. (1994). Principles of marketing. (9 th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Mathis, R. L. & Jackson, J. H. (2003). Human resource management. (10th ed.). Ohio: South Western.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill Book.
Paul, S. (1983). Strategy Management of Development Programmes. Geneva: International Labour Office.
Porter, M. E. (1980). Competitive Strategy: Techniques for Analyzing Industries and Competitors. New York: Free Press.
Porter M. E. (1998). Competitive Advantage of Nations. New York: Free Press.
Schumacher, R.E., & Lomax, R.G. (1996). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Tangen, S. (2004). Performance Measurement: from philosophy to practice. International Journal of Productivity and Performance Management, 53(8): 726-737.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว