การสร้างสื่อการสอนดนตรีสากลเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกระทุ่มแบน วิเศษสมุทคุณ

ผู้แต่ง

  • ถลัชนันท์ ฉิมมา คณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน สาขาวิชาดนตรีศึกษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สื่อการสอน, ดนตรีสากล, การเรียนการสอนดนตรีในระดับชั้นมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่อการสอนดนตรีเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกระทุ่มแบน วิเศษสมุทคุณ 2) หาประสิทธิภาพของการสร้างสื่อการสอนดนตรีเบื้องต้น สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกระทุ่มแบน วิเศษสมุทคุณ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้การสร้างสื่อการสอนดนตรีเบื้องต้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกระทุ่มแบน วิเศษสมุทคุณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดย การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) 1 ห้องเรียนจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อการสอนดนตรีสากลเบื้องต้นจำนวน 8 สื่อ แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียนและแบบทดสอบระหว่างเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมติฐานแบบการทดสอบที (t-test dependent)

           ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างสื่อการสอนดนตรีสากลเบื้องต้น ประกอบด้วย 8 สื่อ ได้แก่ 1.1) ตัวโน้ตหรรษา 1.2) วิธีการตบจังหวะ 1.3) การบันทึกโน้ตในกุญแจซอลและฟา 1.4) รู้ รัก ร้อง Scale C major 1.5) รู้ รัก วิธีการขับร้องสากลเบื้องต้นและอารมณ์ของเพลง 1.6) การร้องเพลงพรานไพรในบันไดเสียง C major 1.7) การร้องเพลงฟลอร์เฟื่องฟ้าใน บันไดเสียง C major 1.8) การแสดงอารมณ์ในบทเพลงพรานไพรและบทเพลงฟลอร์เฟื่องฟ้า 2) สื่อการสอนดนตรีสากลเบื้องต้นมีประสิทธิภาพ 86.13/91.06 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนผ่านสื่อการสอนดนตรีสากลเบื้องต้น พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียน สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จิรวัฒน์ เดชเล้ง. (2561). การพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาดนตรี เรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์, 5(3), 18-20.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทินี นักดนตรี. (2562). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเรื่อง เครื่องดำเนินทำนองในวงเครื่องสาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (รายงานวิจัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ). กรุงเทพฯ: โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปรเมศร์ ชะโลธร. (2561). แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตสากลโดยการประยุกต์ใช้ตามแนวคิดของโคดายสำหรับนักเรียนเครื่องลมทองเหลืองกลุ่มเสียงต่ำในวงโยธวาทิตของโรงเรียนเซนต์คาเบรียล (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

พิชญ์สินี บำรุงเนตร. (2543). ลักษณะความเป็นอมตะของเพลงสุนทราภรณ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อภิรัชต์ การิโก. (2557). การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน เรื่องการใช้โปรแกรมนำเสนองาน วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (ง16201) กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(2), 22-23.

ถลัชนันท์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2022