ผลการจัดกิจกรรมการเล่นสร้างประกอบการวาดภาพโดยใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีต่อทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเล่นสร้าง, การวาดภาพประกอบ, วัสดุเหลือใช้, ทักษะความคิดสร้างสรรค์, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเล่นสร้างประกอบการวาดภาพโดยใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีต่อทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จํานวน 27 คน โรงเรียนอนุบาลบ้านบึง (อํานาจคณูปถัมภ์) จังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการเล่นสร้างประกอบการวาดภาพโดยใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีต่อทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย (จํานวน 16 แผน) ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปภาพเป็นสื่อแบบ ก แปลโดย อารี รังสินันท์ (Torrance Test of Creative Thinking Figural Form A) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นสร้างประกอบการวาดภาพ โดยใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีต่อทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย มีคะแนนทักษะความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ทั้งโดยรวม และรายด้าน
References
เบญจกาญจน์ ใส่ละม้าย. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่องอาชีพในท้องถิ่น จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปิยนันท์ พูลโสภา. (2560). การพัฒนาการเล่น เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 20-27.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2546). เกมการละเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
สมศรี วงษ์มณฑล. (2552). การจัดประสบการณ์การเล่านิทานประกอบหุ่นเชิดมือที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อารี พันธ์มณี. (2547). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ใยไหม.
อารี รังสินันท์. (2532). ความคิดสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
Bromfield, C. (2009). Promoting creative thinking through then use of ICT. Journal of Computer Assisted Learning, 18, 367-378.
Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill Book Co.
Hurlock, E. B. (1972). Child Development. New York: McGraw-Hill Book Co.
Piaget, J. (1962). The Psychology of the Child. New York: Basic Books.
Torrance, E. P. (1965). Rewarding Creative Behavior. N.J.: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว