การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
กิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติ, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยชาย–หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดหนองกันเกรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน มีเด็กทั้งหมด 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติ เพื่อพัฒนาความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย จำนวน 8 สัปดาห์ 2) แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยเป็นภาพสถานการณ์ จำนวน 16 ข้อ 3) แบบสังเกตความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังการจัดกิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม STEAM จากวัสดุธรรมชาติมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ผลจากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
ปิยพร ค้าสุวรรณ์ และชลาธิป สมาหิโต. (2558). ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 30(3), 93–102.
สุวิทย์ มูลคำ. (2552). การสอนคิดแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: ที พี พริ้น.
หทัยภัทร ไกรวรรณ (2559). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสตีมศึกษาที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 32(1), 123-131.
หนึ่งฤทัย เพ็ญสมบูรณ์. (2552). ทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารประเภทขนมไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2557). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ STEAM EDUCATION IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION. กรุงเทพฯ: บรรยาย ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Bruner, J.S. (1966). Toward a Theory of Instruction. United States of America: Public Health Service.
Dewey, J. (1976). The Middle Works 1899-1924. (2 vols). London and Amsterdam: Feiffer & Simons, Inc.
Hilburn A. (2011). What is STEAM?. Retrieved June 20, 2018, from http://www.hilburnacademy.net/wha-issteam
Vygotsky, L. S. (1995). Mind is society: The Development of Higher Psychological Processes. Massachusetts: Harvard University Press.
Yakman, G. (2013). STEAM Education Program Description. Retrieved June 20, 2018, from www.steamedu.com
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 27-07-2022 (2)
- 24-05-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว