การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อม, เกษียณอายุการทำงาน, บุคลากรสายสนับสนุนบทคัดย่อ
การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้บุคลากรมีความพร้อมในการดำรงชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมีความสุข ซึ่งบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุการทำงาน 2) เปรียบเทียบระดับการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุ การทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2564 กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้กำหนดขนาดประชากรกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 305 คน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) การเตรียมความพร้อมในภาพรวมบุคลากรสายสนับสนุนมีการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุการทำงานอยู่ในระดับมาก (M = 3.70, SD = 0.73) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านที่พักอาศัย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านการเงิน ด้านจิตใจ และด้านการใช้เวลาว่าง ตามลำดับ และ 2) เมื่อเปรียบเทียบระดับการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ พบว่า บุคลากรที่มีเพศ สถานภาพสมรส สถานภาพการปฏิบัติงาน หน่วยงานสังกัด และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุไม่แตกต่างกัน ทั้งภาพรวมและรายด้าน ส่วนบุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์การจัดอบรมสนับสนุนให้เหมาะสมตามระดับการศึกษาของบุคลากร
References
เกษรา โพธิ์เย็น.(2562). สังคมผู้สูงอายุ: โอกาสของธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 201-209.
ณัฐกาญจน์ เกสรบัว และพอดี สุขพันธ์. (2563). การเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 11(1), 281-295.
ไทยโพสต์. (2564). สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564, จาก
https://www.thaipost.net/main/detail/103356
นิตยา ทวีชีพ, พิทักษ์ จันทร์เจริญ และวรรณวิภา จัตุชัย. (2559). รูปแบบกิจกรรมหลังเกษียณอายุตามความต้องการของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(44), 235-251.
บรรลุ ศิริพานิช. (2550). คู่มือผู้สูงอายุ: ฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ (เตรียมตัวก่อนเกษียณการงาน). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2561). เตรียมความพร้อมเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2564, จาก https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1349
ปิยดา วงศ์วิวัฒน์. (2562). การเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 348-361.
ปุณญาดา บุญเพ็ญ. (2558). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของข้าราชการทหารบกประจำการ ณ มณฑลทหารบกที่ ๑๕ จังหวัดเพชรบุรี (ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด, กรุงเทพฯ.
พรพรรณ วรสีหะ. (2561). ชีวิตภายหลังเกษียณ: ประสบการณ์ชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 10(1), 201-215.
ภราดา โชติกุล และบัวทอง สว่างโสภากุล. (2564). ความเข้มแข็งทางใจ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการเตรียมพร้อมเพื่อเกษียณอายุ ของพนักงานสายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 195-210.
ภักดี โพธิ์สิงห์. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุอย่างมีคุณภาพของ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 93-106.
รัฐชัย ศีลาเจริญ, พรอนงค์ บุษราตระกูล, อนิรุต พิเสฏฐศลาศัย, รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น, ณรงค์ฤทธิ์ อัศวเรืองพิภพ และสุนทรี เหล่าพัดจัน. (2561). ประสิทธิผลของการให้ความรู้ต่อการตัดสินใจเลือกแผนการลงทุนสำหรับการเกษียณอายุ. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(150), 149-190.
เรืองรำไพ โยธาใหญ่. (2559). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุทำงานของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ศรุติ กิตติมหาชัย. (2560). การวางแผนการใช้ชีวิต การวางแผนเรื่องการเงิน และการพัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
สจี กุลธวัชวงศ์, นภาเขตต์ พลยะเรศ, รุจิรา พลแพงขวา, เกียรติพร จันโทภาส, พรรทิภา ชินภา และอาวุธ วงศ์สว่าง. (2560). พฤติกรรมการเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 7(2), 64-69.
สาธิต จินดากุล. (2559). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาคเขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สุเทพ พูลสวัสดิ์. (2550). การเตรียมตัวเกษียณอายุราชการ ของผู้บริหารสถานศึกษา (การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
สุภาลักษณ์ จันทา. (2560). การเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์กีฬาแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
เสาวรภย์ ญาณสุธี. (2559). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุราชการของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
อรรถ ดีพินิจ. (2557). การเตรียมพร้อมก่อนเกษียณอายุของประชากรในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
อังคณา วิชิต. (2560). การเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุของพนักงานการเคหะแห่งชาติ: กรณีศึกษาพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานใหญ่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 27-39.
Atchley, R. C. (1994). Social forces and Aging: An Introduction to Social Gerontology. Belmont, California: Wadsworth.
Cronbach, L. J. (1970). Essential of Psychological testing (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Dennis, M. P. (1984). The Edison questionnaire. Journal of the History of the Behavioral Sciences, 20(1), 23-37.
Leedy, J. & Wynbarand, j. (1987). Executive Retirement Management. New York: Fact on File Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว