การศึกษาความเป็นพลเมืองผ่านมุมมองทางสังคมวิทยาการเมือง
คำสำคัญ:
ความเป็นพลเมือง, สังคมวิทยาการเมือง, คุณธรรมแบบพลเมืองบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ได้ทบทวนการศึกษาความเป็นพลเมืองผ่านมุมมองทางสังคมวิทยาการเมือง จากกรอบแนวคิดการศึกษาความเป็นพลเมือง (Frame of Citizenship) มีความสำคัญในทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางสังคมของบุคคลทั้งในระดับปัจเจกชน (Individual) และระดับกลุ่มหรือชุมชน (Community) ผ่านมิติของความเป็นพลเมืองทั้ง 3 มิติ ได้แก่ การเป็นสมาชิกของชุมชนการเมือง (Membership) การมีสิทธิและหน้าที่ (Rights as Obligations) และการกระทำ (Practices) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการศึกษาความเป็นพลเมืองทั้ง 3 แนวคิดที่มีจุดเน้นของการศึกษาที่แตกต่างกันไปตามบริบททางสังคมนั้น ๆ สำหรับ แนวคิดความเป็นพลเมืองแบบเสรีนิยม (Libertarianism) ให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน แต่ก็เห็นว่าความเป็นพลเมืองมีองค์ประกอบทั้งในเรื่องของความเป็นปัจเจกชนของแต่ละบุคคล (Individualistic) และเรื่องของกลุ่มคน (Collectivist) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แนวคิดแบบสาธารณนิยมที่เน้นบทบาทของพลเมือง “Civic Republicanism” เน้นการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมของพลเมืองนั้น จะต้องให้การศึกษาเพื่อสร้างสำนึกความเป็นพลเมือง (Civic Education) เพื่อให้เกิดคุณธรรมแบบพลเมือง หรือ “การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม” (Civic Virtue) และแนวคิดความเป็นพลเมืองแบบชุมชนนิยม (Communitarian) การให้ความสำคัญกับชุมชนหรือค่านิยมของสังคมมากกว่าปัจเจกบุคคลหรือค่านิยมส่วนตัวของบุคคล ให้ความสนใจในสิทธิกลุ่ม (Group Right) และสิทธิร่วม (Collective Right) ทั้งในแง่การเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะสิทธิต่อทรัพยากร ภายใต้พันธะข้อตกลงทางสังคม และการสร้างและการคงไว้ซึ่งชุมชนผ่านการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้กับปัญหาที่เกิดกับชุมชนการเมืองของตนเองผ่านการมีจิตสำนึกเพื่อส่วนร่วมหรือจิตสาธารณะ ดังนั้นการศึกษาความเป็นพลเมืองในปัจจุบันเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นสถานะของความเป็นพลเมืองที่ในทุก ๆ สังคมพึงปรารถนา แต่ละบริบทของสังคมนั้น ๆ อาจกำหนดสถานะหรือคุณลักษณะของพลเมืองที่แตกต่างกันออกไปภายใต้บริบทชุมชนการเมืองนั้น ๆ
References
ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย. เผยแพร่ในการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า, ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ.
ธีรยุทธ บุญมี. (2546). ชาตินิยมและหลังชาตินิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.
ธีรยุทธ บุญมี. (2547). ประชาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.
ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. (2553). พลเมืองและความเป็นพลเมืองกับมุมมองที่แตกต่างระหว่างเสรีนิยมและชุมชนนิยม. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก https://tpir53.wordpress.com/2010/11/09/citizen/
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2556). การเมืองของพลเมืองสู่สหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
Baubock, R. (1994). Transnational Citizenship. Aldershot: Edward Elgar.
Barkalet, T. M. (1997). Concept of the second science: citizenship. Delhi: worldview.
Baccelli, L. (1997). Citizenship and membership. Rechtstheorie, 17(1), 209-219.
Bernstein, B. (1996). Pedagogy, Symbolic Control and Identity: Theory, Research, Critique. London and Bristol: Taylor & Francis.
Bendix, R. (1994). Nation-building and Citizenship: Studies of Our Changing Social Order. California. University of California Press.
Bryan, T. (1993). Citizenship and Social Theory. Newbury Park, CA: Sage.
Drucker F, P. (1993). Post-Capitalist Society. Oxford: Butterworth-Heinmann.
Etzioni, A. (1993). The Spirit of Community. New York: Crown Publishers.
Faulks, K. (2000). Citizenship. New York: Routledge.
Galston, W. (2007). Pluralism and civic virtue. Social Theory and Practice, 33(4), 625-635.
Marshall, T.H. (1994). Citizenship and social class. In Turner, Bryan S. & Hamilyon, London; New York: Routledge.
Oldfield, A. (1990). Citizenship and Community. London: Routledge.
Putnam, D. (1993). Making Democracy Work: Civic Traditions in Modern Italy. Princeton: Princeton University Press.
Procacci, G. (2004). Governmentality and Citizenship. In Kate Nash and Alan Scott (Eds.), The Blackwell companion to political sociology, State University of Milan (Italy), (pp.342-351). Milan: Blackwell Publishing Ltd.
Pettit, P. (1997). Republicanism: a theory of freedom and government. Oxford: Clarendon Press.
Ross, A. (1996). Citizenship education and curriculum theory. Institute for Policy Studies in Education (IPSE), University of North London, pp.1-15.
Tocqueville, A. (1968). Democracy in America. New York: Doubleday.
Turner, B. (1993). Citizenship and Social Theory. CA: Sage.
Zolo D. (1994), La cittadinanza: Appartenenza, identità, diritti. Bari: Laterza.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว