การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิงสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก

ผู้แต่ง

  • พนธกร สุขประเสริฐ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สิทธิกร สุมาลี สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ไมโครเลิร์นนิง, กิจกรรมการเรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สาระหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิง สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิง การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/12 โรงเรียนทวีธาภิเศก ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง มีจำนวนนักเรียน 30 คน
        ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิง สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทวีธาภิเศก ทั้งหมด 4 หน่วยการเรียนรู้ มีคุณภาพอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด (M = 4.68, SD = 0.48) ทั้งในด้านกิจกรรมการเรียนรู้ คุณภาพสื่อการสอน และการประเมินผล โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการสอนจำนวน 5 ท่านประเมิน 2) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิง พบว่า นักเรียนจำนวน 30 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 92.26) มีผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในระดับดีถึงดีมาก (คะแนนคิดเป็นร้อยละ 76.00–90.00) มีผลการประเมินพฤติกรรมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนและความมุ่งมั่นในการทำงานโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 99.10) และมีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญโดยใช้แบบประเมินสมรรถนะสำคัญในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 94.50) และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิงโดยใช้การบันทึกความพึงพอใจลงในอนุทิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบไมโครเลิร์นนิงอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนก จันทร์ทอง. (2560). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(2), 227-241.

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติพ.ศ. 2561-2580. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF

ชนันพัฒน์ วรรณวิจิตร. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิชาหน้าที่พลเมืองโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

ธารีย์ณิชา ลีพีรวิทิต. (2559). การเพิ่มประสิทธิผลการเรียนรู้ของเจนเนอเรชันแซตผ่านการเรียนรู้แบบไมโคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.

พรสวรรค์ ตันมงคลกาญจน.(2553). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องพลเมืองดีในวิถีชีวิตประชาธิปไตยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค NH (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ลัดดาวัลย์ คงสมบูรณ์. (2562). การพัฒนาไมโครเลิร์นนิง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2), 51-62.

วิชญา นรถี. (2552). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์วิชาสังคมศึกษาโดยใช้กรณีศึกษาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบ e-learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สรลักษณ์ ลีลา. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โสภิณ ศิริคำน้อย. (2554). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สาระหน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม โดยเทคนิคการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลำปางกัลยาณี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Katambur, D. (2019). Microlearning Design: 7 Must-Have Characteristics. Retrieved February 16, 2021, from https://blog.commlabindia.com/elearning-design/microlearning-design-characteristics

Malamed, C. (2015). A Closer Look at Bite-sized Learning. Retrieved January 29, 2021, from http://theelearningcoach.com/elearning2-0/what-is-Microlearning

Mohammed, G. S., Wakil, K., & Nawroly, S. S. (2018). The effectiveness of microlearning to improve students’ learning ability. International Journal of Educational Research Review, 3(3), 17-23.

Simonenko, T., & Nikitska, Y. (2019). Formation of the key language competence of future teachers of Ukrainian language and liturature by the use of the digital technology of microlearning. E-Learning and STEM Education, 11, 503-505.

พนธกร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2022