การพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการเล่นเกมออนไลน์
คำสำคัญ:
การพัฒนากฎหมาย, กฎหมายคุ้มครองเด็กและเยาวชน, การเล่นเกมออนไลน์, การป้องกันการติดเกมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพข้อเท็จจริงและปัญหาที่เกิดขึ้นในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการเล่นเกมออนไลน์ 2) ศึกษาหามาตรการทางกฎหมายไทยที่บังคับอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการเล่นเกมออนไลน์ เกมที่เป็นการพนัน กฎหมายในการกำกับดูแลการประกอบกิจการเกี่ยวกับเกม และ 3) ศึกษามาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ พัฒนากฎหมายคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการเล่นเกมออนไลน์ให้เหมาะสม โดยวิธีการวิจัยสำหรับการวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารรวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 9 คน
ผลการวิจัย พบว่า จากการนำหลักกฎหมายของต่างประเทศ 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศสิงค์โปร์ ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศเยอรมนี มาวิเคราะห์เนื้อหาเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับเกมซึ่งวางหลักคุ้มครองเด็กในการป้องกันการติดเกมด้วยการจัดให้มีกลไกย่อยต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่มีการกำหนดให้ต้องขออนุญาตผู้ปกครองก่อนเล่นเกม และไม่ได้กำหนดให้ต้องระบุอายุเด็กก่อนเล่นเกม แม้มีกฎหมายบางฉบับที่วางหลักจำกัดเวลาเล่นเกม เช่น พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีหลักการควบคุมร้านเกมหรืออินเตอร์เน็ตคาเฟ่ โดยกำหนดระยะเวลาใช้บริการของผู้เยาว์แต่ข้อจำกัดของกฎหมายนี้ คือสามารถควบคุมได้เฉพาะผู้ให้บริการเกมที่มีหน้าร้านหรือสถานที่ให้บริการนั่งเล่นเกม อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ปัจจุบันมีลักษณะให้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสมาร์ทโฟนที่เด็กสามารถเข้าถึงจากสถานที่ใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องมานั่งเล่นในร้านเกม ดังนั้น กฎหมายดังกล่าวจึงไม่สามารถปรับใช้คุ้มครองการติดเกมมากเกินไปเนื่องจากไม่สามารถควบคุมผู้ให้บริการออนไลน์ในการจำกัดเวลาเล่นเกมของเด็กที่เล่นผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากนี้โดยรวมแล้วกฎหมายประเทศไทยยังไม่มีมาตรการตรวจสอบระบุอายุเด็กผู้เล่นเกมและการขออนุญาตผู้ปกครองในการเล่นเกม เนื้อหาเกม การลงทะเบียน การขึ้นบัญชีเกมที่มีลักษณะต้องห้าม รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ผู้ให้บริการ กำหนดโทษที่เหมาะสม
References
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2563). สถิติ คดีเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนกระทำความผิด. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก www.djop.go.th
ณรงค์ศักดิ์ ชมนาวัง, นิติกรปฏิบัติการกองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (18 มกราคม 2564). สัมภาษณ์.
ธนาวุฒิ วงศ์อนันต์, อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. (18 มกราคม 2564). สัมภาษณ์.
ธวัชชัย ไหวพริบ, พนักงานคุมประพฤติ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม. (20 กุมภาพันธ์ 2564). สัมภาษณ์.
ไพโรจน์ สมุทรักษ์, ประธานสาขาวิชามัลติมีเดียและอีสปอร์ต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (14 มกราคม 2564). สัมภาษณ์.
วิโรจน์ นิติมหามงคล, นิติกรสังกัดองค์การบริหารตำบลแม่ศึก จังหวัดเชียงใหม่. (18 มกราคม 2564). สัมภาษณ์.
ศักดิ์สิทธิ์ สุทธศิริ, อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดลพบุรี. (18 มกราคม 2564). สัมภาษณ์.
ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน. (2563). รายงานสถานการณ์การพนันในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563, จาก http://www.gamblingstudy-th.org
สมภพ ประทุม, ผู้พิพากษา. (18 มกราคม 2564). สัมภาษณ์.
สุรเชษฐ์ เดชะพันธ์, รองผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (12 มกราคม 2564). สัมภาษณ์.
เอกรินทร์ มีดี, ทนายความ. (18 มกราคม 2564). สัมภาษณ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว