การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • พงศ์วัชร ฟองกันทา สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • ธรัช พุทธรักษ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

คำสำคัญ:

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษกับเกณฑ์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 50 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ข้อสอบจับคู่ และแบบเติมคำในช่องว่าง ความเชื่อมั่น 0.75 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27-0.80 และค่าความยาก 0.33-0.80 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที เปรียบเทียบข้อมูล 1 กลุ่มกับค่ามาตรฐานที่กำหนด
        ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 80.16/81.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เท่ากับ 78.85 สูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 75 ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เพื่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก (M = 4.16)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ 2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การบริหารจัดการเวลาเรียนภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐวราพร เปลี่ยนปราณ และสุทัศน์ นาคจั่น. (2558). การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมประกอบการสอนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทุ่งน้อย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. Veridian E-Journal Silpakorn University, 8(2), 1672-1684.

นิวาตี นิวาตโสภณ. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

นพพร สโรบล. (2558). ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปานวาส ประสาท. (2558).การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ “ภาษาอังกฤษเพื่อความพร้อมในการทำงาน” ด้วยเอ็ดโมดูสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี, สุพรรณบุรี.

พรศิริ อูปคำ และยุทธศักดิ์ ชื่นใจชน. (2558). การใช้วิธีสอนตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่มเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนสาขาวิชาการท่องเที่ยวระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4(2), 115-123.

ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก. (2558). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจของอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สกว, 7(4), 70-89.

มเหศักดิ์ ทองสลับ และกชกร ธิปัตดี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 96-104.

ยลดา กุมารสิทธิ์ และอัจฉรีย์ พิมพิมูล. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 129-136.

วรรษพร อยู่ข้วน.(2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องคำศัพท์ พื้นฐานในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหินวัว จังหวัดระนอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2558). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อสุชญา พุ่มสวย. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนชลบุรี "สุขบท". วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 9(3), 1040-1054.

Dickins, M., Rea, P., & Edward, G. W. (1988). Some Criteria for the Development of Communicative Grammar Tasks. Oxford: Oxford University Press.

Hall, P. (1982). Learning of leadership. New York: Prentice-Hall.

James, U. (2014). The effectiveness of interactive multimedia courseware as instructional medium for teaching. British Journal of Education, 2(5), 36-47.

Juhana. (2012). Phycological factors that hinder students from speaking in English class (A class study in a senior high school in South Tangerang, Banten, Indonesia). Journal of Education and Practice, 3(12), 100-110.

Kenneth, J. L. (2014). Interactive computer-assisted instruction in acid-base physiology for mobile computer platforms. Advances in Physiology Education, 38(1), 34-41.

McGriff, S. J. (2000). Instructional system design (ISD): Using the ADDIE model. Instructional Design Models, 226(14), 1-2.

Muhammed, Y. (2001). Deductive and Inductive Lessons for Saudi EFL Freshmen Students. Saudi Arabia: King Khalid University.

Prince, M. (2004). Does active learning work. A review of the research. Journal of Engineering Education, 93(3), 223-232.

ฟิสิกส์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2022