ผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนโดยใช้แอปพลิเคชันของกลุ่มตัวอย่างในตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
บัญชีครัวเรือน, แอปพลิเคชัน, ชัยนาทบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนของคนในชุมชนตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท โดยใช้แอปพลิเคชันเป็นเครื่องมือ และ 2) เสนอแนวทางการส่งเสริมการจัดการด้านการเงินที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแอปพลิเคชันสำหรับบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) จำนวนผู้ที่สามารถจัดทำบัญชีครัวเรือนได้ครบตามกำหนดมีทั้งสิ้น 17 คน จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 24 คน ร้อยละ 70.83 ในด้านคุณภาพ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยเป็น 6.64 และ 8.73 คะแนน สำหรับก่อนและหลังการอบรม ตามลำดับ รวมถึงมีความสามารถในการเลือกใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยในการจัดทำบัญชีได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นด้วย ผลจากการจัดทำบัญชีครัวเรือนและการติดตามผลการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระยะเวลา 2 เดือน พบว่า จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่มีหนี้สินลดลง ร้อยละ 22.22 และร้อยละ 29.41 ของจำนวนผู้บันทึกข้อมูลทั้งหมดในสิ้นเดือนที่ 1 และสิ้นเดือนที่ 2 ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่มีเงินออมเพิ่มขึ้น มีค่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.67 เป็นร้อยละ 35.29 ในภาพรวมผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้และใช้แอปพลิเคชันในการจัดทำบัญชีได้อย่างน้อย 1 โปรแกรม และมีวินัยในการจัดทำบัญชีครัวเรือนเป็นอย่างดี และ 2) ควรมีการสนับสนุนเพื่อต่อยอดสำหรับการจัดทำบัญชีเฉพาะด้าน นอกจากนี้ ควรมีการแนะนำเครื่องมือสำหรับทำบัญชีครัวเรือนร่วมกันในครอบครัวหรือกลุ่มย่อย ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในวงกว้างมากขึ้น รวมถึงการให้ความรู้เรื่องการวางแผนการเงินและการพัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเพื่อร่วมกันสร้างวินัยทางการเงินแก่คนในชุมชนอย่างรอบด้านและยั่งยืนต่อไป
References
นฤมล อริยพิมพ์. (2565). การจัดทำบัญชีด้วยแอปพลิเคชัน สำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประเภทอาหาร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(1), 303-314.
นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ. (2559). บัญชีพอเพียง: แก้ความยากจน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 12(36), 76-84.
พรทิพย์ ขุนวิเศษ, วรพนธ์ หอมกรุ่น, บุษยา ดำคำ, อดิศักดิ์ ชวลิตวัชระ, เลิศฤทธิ์ พลนิกร และทัสมะ จันทร์พิลา. (2561). การพัฒนารูปแบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดชัยนาท กรณีศึกษา ตำบลห้วยงู จังหวัดชัยนาท. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท.
ภัทรา เรืองสินภิญญา (2555). “บัญชีครัวเรือน” เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม “Home Accounting”. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 20-28.
รชต ตั้งนรารัชชกิจ. (2565, 18 มกราคม). หนี้ครัวเรือน: ปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันแก้. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_18Jan2022-2.aspx
ลักขณา ดำชู. (2562). แนวทางการส่งเสริมศักยภาพการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. การประชุมสัมมนาทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ครั้งที่ 12 (น. 1009-1015). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.
วันฤดี สุขสงวน. (2561). การประเมินความสามารถของเกษตรกรในการใช้สมาร์โฟนเพื่อรองรับการใช้งานแอปพลิเคชันบัญชีครัวเรือน. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 200-214.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์. (2564, 17 ตุลาคม). หนี้ครัวเรือนไทย ‘สูงที่สุด’ ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา คิดเป็น 89.3% ของ GDP และยังสูงขึ้นได้อีก. https://workpointtoday.com/scbeic-gdp-house-loan/
สถิตย์ มโนการ. (2560). การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อการพึ่งพาตนเองในชุมชนบ้านนาแล ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สายสมร สังข์เมฆ. (2559). การจัดทำบัญชีครัวเรือนของประชาชนในชุมชนเกาะยาวใหญ่จังหวัดพังงา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(3), 26-35.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2564, 20 มกราคม). สถิติประชากรรายอำเภอของจังหวัดชัยนาท หันคา เดือนมกราคม พ.ศ. 2564. https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php
อุทุมพร ศรีโยม และพรศิลป์ บัวงาม (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สำหรับบัญชีครัวเรือนในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(2), 57-69.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว