รูปแบบสถาปัตยกรรมภายในของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร ที่เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน
คำสำคัญ:
การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน, ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน, การจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมภายในของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานครที่เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน และ 2) เสนอแนะแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานครที่เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยตามการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐาน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและแบบฟอร์มสรุปข้อมูลการออกแบบเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา ผลงานวิจัย และบทความวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบสถาปัตยกรรมภายในของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนปัจจุบันยังไม่เอื้อต่อบรรยากาศการเรียนรู้ของเด็ก เช่น การจัดวางสื่อ การใช้สีของผนัง วัสดุของเฟอร์นิเจอร์ พื้นที่กิจกรรมขาดความยืดหยุ่น เป็นต้น ดังนั้นนอกจากการให้ความสำคัญกับผู้สอน สื่อ และหลักสูตรแล้ว สภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเด็กอย่างรอบด้านและ 2) การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานครที่เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ตามการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานควรนำแนวคิด ทฤษฎี จิตวิทยาสีมาใช้ในการออกแบบห้องให้สอดคล้องกับกิจกรรมและการพัฒนาสมองของเด็ก เพิ่มการรับรู้และเรียนรู้ด้วยการออกแบบกราฟิก เช่น รูปสัตว์ และต้นไม้ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นความสนใจ ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ และเพิ่มการจดจำได้ดีขึ้น
References
กระทู้ถามที่ 218/ร. (2564, 24 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 43ง, หน้า 66-69.
เกศสุดา ใจคำ. (2552). การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน: (Brain-Based Learning). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 3(1), 62-70.
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์. (2558). การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัฎฐิกา นวพันธุ์. (2560). การออกแบบสถาปัตยกรรมและพื้นที่สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 25(2), 11-23.
นิพัทธา หรรนภา. (2565). สภาพแวดล้อมและกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(2), 57-72.
พรเทพ ศิริวนารังสรรค์. (2564). รายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางเพื่อกำหนดมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สภากรุงเทพมหานคร.
ภัทรพร เล้าวงค์, สุนิสา คำแก้ว, เมฆขลา ทองวิไล และปาริชาติ เปิ้นวงษ์. (2562). แนวทางการขยายผลการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย กรณีศึกษา: การพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
วิศณี ไชยรักษ์ และขวัญจิต รัตนวรรณนุกูล. (2557). การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในห้องเรียนเด็กปฐมวัยโดยใช้การเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นพื้นฐาน. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 18(1), 105-121.
วีระชาติ กิเลนทอง. (2563). รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ไทยตามช่วงวัย. [รายงานการสำรวจ]. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/890148
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2557). รายงานการวิจัย แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
องค์การยูนิเซฟแห่งประเทศไทยและสำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). รายงานฉบับสมบูรณ์การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
อรอนงค์ ฤทธิ์ฤาชัย, สัญชัย สันติเวช และนิธิวดี ทองป้อง. (2560). จิตวิทยาสีกับห้องเรียน BBL. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 40(1), 1-14.
อริสลา บุญโพธิ์เตี้ย. (2564). โครงการเสนอแนะออกแบบสถาปัตยกรรมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปฐมวัยสำหรับเด็กด้อยโอกาส (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นครปฐม.
Abdul-Samad, Z. & Macmillan, S.G. (2004). Improving Design Quality and Value in the Built Environment through Knowledge of Intangibles. In 2004 IEEE International Engineering Management Conference (pp.349-373). Singapore. Industrial Engineering and Engineering Management.
Bandura, A. (2012). Social cognitive theory. In: P. A. M. Van Lange, A. W. Kruglanski, & E. T. Higgins, (editors), Handbook of Theories of Social Psychology. (pp.349-373). Sage Publications.
Hulshof, B. (2013). The Influence of Colour and Scent on People’s Mood and Cognitive Performance in Meeting Rooms. (Master’s thesis). University of Twente, Enschede.
Kwallek, N., & Lewis, C. M. (1990). Effects of Environmental Colour on Males and Females: A Red or White or Green Office. Applied Ergonomics, 21(4), 275–278.
Savage, T.V., & Savage, M. K. (2010). Successful Classroom Management and Discipline: Teaching Self-Control and Responsibility (3rd Ed.). Los Angeles: SAGE Publications, Inc.
Sebba, R., & Churchman, A. (1986). Schoolyard Design as an Expression of Educational Principles. Children's Environments Quarterly, 3(3), 70–76.
Shawket, I. M. (2016). Educational Methods Instruct Outdoor Design Principles: Contributing to a Better Environment. Procedia Environmental Sciences, 34, 222-232.
Wood, S. E., Wood, E.G. & Boyd, D. (2008). Mastering the world of psychology (3rd ed.). Boston, M.A.: Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว