ภูมิปัญญาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นบ้านล้านนาของผู้สูงอายุชุมชนเวียงท่ากาน – ยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สามารถ ใจเตี้ย ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สิวลี รัตนปัญญา ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ณัทธร สุขสีทอง ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านล้านนา, การบริโภค, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้านล้านนา และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารพื้นบ้านล้านนาของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุในชุมชนเวียงท่ากาน–ยุหว่า อำเภอสันป่าตอง
จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 295 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า อาหารพื้นบ้านล้านนาเป็นกระบวนทัศน์และระบบความสัมพันธ์ชุมชนในภาคเหนือ ทั้งนี้ภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้จากบิดา–มารดา และกิจกรรมในชุมชน 2) การแสวงหาวัตถุดิบจากทรัพยากรชุมชน และ 3) การปรุงตำรับอาหารที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการ ผู้สูงอายุบริโภคอาหารพื้นบ้านล้านนาเฉลี่ยระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.33 ± 0.83) โดยมีปัจจัยอายุ (r = 0.126, p–value = 0.032) จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (r = 0.184, p–value = 0.002) และรายได้ของครอบครัว (r = 0.118, p–value = 0.049) มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารพื้นบ้านของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสนอแนะการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยอาหารพื้นบ้าน โดยการสืบทอดและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาด้วยมิติอาหารสุขภาพ การผสมผสานภูมิปัญญาสมัยเก่ากับสมัยใหม่ และการให้คุณค่าของการปรุงอาหารที่สงวนคุณค่า

References

ชวิศา แก้วอนันต์. (2561). โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอชีย, 12(2), 112-118.

ณิชมน ภมร และพัชรี ตันติวิภาวิน. (2563).การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านภาคเหนือตอนบนของไทย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(2), 28–44.

ณัฏฐญาณี จันทพลาบูรณ์ และอภิรดี วงศ์ศิริ. (2565). การเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารจันทรเกษมสาร, 28(1), 109-124.

นันท์นภัส ธนฐากร และธนัส กนกเทศ. (2562). โรคอ้วนในผู้สูงอายุ: การประเมินและแนวทางป้องกัน. วารสารมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(1), 16–26.

พิกุล บุญมากาศ. (2544). การศึกษาตำรับอาหารพื้นบ้านชาวยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พิริยฉัตร คณานุรักษ์, กัลยา สร้อยสิงห์, เกษมสุข เขียวทอง, ธนวันต์ พัฒนสิงห์, จีน่า ซัมเมอร์ส และจิราพร ธรรมสุขเสรี. (2563). พฤติกรรมการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 548–563.

พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์, พระมหาสิมรัตน์ สิริธมโม, ธีรวัฒน์ จันทร์จำรัส และสายฝน อินศรีชื่น. (2563). การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 9(2), 167-177.

มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 90–103.

วนาลี นาว จันทร์อร่าม. (2561). ผู้สูงอายุตำบลยุหว่า สันป่าตอง ขอแก่อย่างมีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/

สามารถ ใจเตี้ย. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารพื้นบ้านของผู้สูงอายุในเขตเมือง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 31(2), 1-8.

สามารถ ใจเตี้ย. (2562). การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 9(1), 1–16.

สามารถ ใจเตี้ย. (2563). ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารพื้นบ้านล้านนาของผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 18(1), 103–115.

สามารถ ใจเตี้ย, สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี, สิวลี รัตนปัญญา, จันจิราภรณ์ สท้านไตรภพ, ณัทธร สุขสีทอง, ศศิกัญญ์ นำบุญจิตต์, ฉัตรศิริ วิภาวิน และอัจฉรา คำฟั้น. (2565). การใช้ประโยชน์ และการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการอนุรักษ์พืชอาหารจากป่าชุมชนสะลวง-ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(2),180–189.

Antina, B., Gert, J. T. H., & Monicque, M. L. (2013). Physiological and Psychosocial Age-Related Changes Associated with Reduced Food Intake in Older Person. Ageing Research Reviews, 12(1), 316–328.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and The Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(3), 297–334.

Daniel, W. W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9 thed.). New York: John Wiley & Sons.

Hedberg, R. C., & Zimmerer, K. S. (2020). What’s the Market Got to Do With It? Social-Ecological Embeddedness and Environmental Practices in a Local Food System Initiative. Geoforum, 110, 35-45.

Joshi, A., Kale, S., Chandel, S., & Pal, D. K. (2015). Likert Scale: Explored and Explained. Current Journal of Applied Science and Technology,7(4), 396–403.

Miqat, N., Nur, R., Fattah, V., Sulilawat, S., & Purnamasari, I. (2021). Local Wisdom of Customary Law Community to Realize Food Sovereignty in Central Sulawesi. Jumbura Law Review, 3(2), 277-294.

Morse, J., & Field, P. (1996). Nursing research: the application of qualitative Approaches. London: Chapman and Hall.

Skallerud, K., & Wien, A. H. (2019). Preference for local food as a matter of helping behavior: Insights from Norway. Journal of Rural Studies, 67, 79-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-12-2022