การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ แบบบูรณาการความร่วมมือสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา
คำสำคัญ:
นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา, การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้, บูรณาการบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้แบบบูรณาการความร่วมมือสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรมการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แบบบูรณาการความร่วมมือสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้นวัตกรรมการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้แบบบูรณาการความร่วมมือสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดจันทน์ จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 5 คน ผู้ปกครอง จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 5 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบำเพ็ญบุญ จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 5 คน ผู้ปกครอง จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกและการเขียนไม่ได้แบบบูรณาการความร่วมมือสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นปรนัยชนิดเลือกตอบ 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกและการเขียนไม่ได้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรม
ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินนวัตกรรมการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้แบบบูรณาการความร่วมมือสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก (M = 4.80, SD = .678) 2) ดัชนีประสิทธิผลของนวัตกรรมการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้แบบบูรณาการความร่วมมือสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.6851 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.51 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกและการเขียนไม่ได้แบบบูรณาการความร่วมมือสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา อยู่ในระดับมากทุกรายการทั้งภาพรวมและรายด้าน
References
กรมสามัญศึกษา. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชวลิต ชูกําแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. ทีคิวพี จํากัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. สุวิริยสาส์น.
ณัฐญา นาคะสันต์ และ ชวณัฐ นาคะสันต์. (2559). เกม : นวัตกรรมเพื่อการศึกษาเชิงสร้างสรรค์. วารสารร่มพฤกษ์, 34(3), 159-182.
มนตรี อนันตรักษ์. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. ประสานการพิมพ์.
วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. (2551, 5 กันยายน). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา. http://www.pochanukul.com
สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). ประสานการพิมพ์.
Alaswad, Z., & Nadolny, L. (2015). Designing for game-based learning : The effective integration of technology to support learning. Journal of Educational Technology Systems, 43(4), 389-402.
Plass, J. L., Homer, B. D. & Kinzer, C. K. (2015). Foundations of game-based learning. Educational Psychologist, 50(4), 258-283.
Vygotsky, L.S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Harvard University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว