กลยุทธ์การบริหารหลักสูตร ระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนานักศึกษาสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • สุปราณี วงษ์แสงจันทร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ประกอบ คุณารักษ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหารหลักสูตร, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, พลเมืองดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสนอสถานภาพการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา 2) เสนอสถานภาพการบริหารหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา 3) แสดงความแตกต่างของการบริหารหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตระหว่างสถาบันการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกับสถาบันการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลต่ำ และ 4) เสนอกลยุทธ์การบริหารหลักสูตรที่นำไปสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาที่ได้จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1–3 โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2564 จากประชากรที่รวบรวมได้ 93 สถาบัน กลุ่มตัวอย่างรวบรวมได้ คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 404 คน และนักศึกษาชั้นปีที่สี่ 419 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานภาพความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาในหลักสูตรจำนวน 8 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.09, SD = 0.98) ซึ่งการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ (M = 3.34, SD = 0.92) 2) ประเด็นการบริหารหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา จำนวน 6 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.27, SD = 0.94) ซึ่งกลยุทธ์การสอนและการประเมินผลการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ (M = 3.61, SD = 0.94) 3) กลุ่มที่มีผลการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 31.7 และกลุ่มที่มีผลการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 28 และใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ประกอบกับทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบของเชฟเฟ่ (Scheffe's test) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า การบริหารหลักสูตร ระดับปริญญาบัณฑิตระหว่างสถาบันการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกับสถาบันการศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลต่ำ โดยรวมแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาตัวแปรย่อยทั้ง 6 ตัว ปรากฏผลเช่นเดียวกัน และ 4) การวิเคราะห์ SWOT เพื่อแบ่งกลุ่มตามผลการบริหารหลักสูตรจำนวน 3 ระดับ ได้แก่ (1) กลุ่มที่มีผลการบริหารหลักสูตรในระดับสูง จำนวน 2 กลยุทธ์ (2) กลุ่มที่มีผลการบริหารหลักสูตรในระดับกลาง จำนวน 6 กลยุทธ์ และ (3) กลุ่มที่มีผลการบริหารหลักสูตรในระดับต่ำ จำนวน 4 กลยุทธ์ ซึ่งผลการประเมินพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (M = 4.60, SD = 0.54)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (17 กันยายน 2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 171 ง.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.thaiall.com/tqf/

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562 จาก http://www.onec.go.th/

นันฑวัฒน์ ธิมาชัย. (2561). ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านลบ. [บทเรียนออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562 จาก https://sites.google.com/site/comeducationm1/

นิภาภรณ์ คำเจริญ, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์ และพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2560). การบริหารจัดการคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎ ในทศวรรษหน้า. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 121-137.

มนรัตน์ แก้วเกิด, สุกัญญา แช่มช้อย และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2564). ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 15(1), 66-77.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

วรรณากร พรประเสริฐ และ รักษิต สุทธิพงษ์. (2562). ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 19(2), 104-117.

เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนคาเบรียลแห่งประเทศไทย ตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล (ดุษฎีพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สรานนท์ อินทนนท์. (2561). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence). ปทุมธานี: นัชชาวัตน์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

เหมือนฝัน วงเดช, ภูวดล จุลสุคนธ์ และเฉลิมชัย หาญกล้า. (2562). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี. วารสารลวะศรี วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 3(1), 133-148.

อริสา มีพัฒน์, ชูศักดิ์ เอกเพชร และ สมคิด นาคขวัญ. (2560). การศึกษาการบริหารหลักสูตรระดับปริญญาตรี ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(2), 100-113.

DQ Institute. (2019). Digital Intelligence: DQ Global Standards Report 2019. Retrieved 20 December 2020 from www.dqinstitute.org

Fan, Chung Teh. (1952). The Item Analysis Table. New Jersey: Princeton: Educational Testing Services.

Guskey, T.R. (2000). Evaluation professional development. California: Corwin Press.

Jantan, P., Patpol, M., & Sripahol, S. (2020). The Characteristics of Undergraduate Student’ Digital Citizenship. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(12), 430-444.

Krutka, D. G., & Carpenter, J. P. (2017). Digital citizenship in the curriculum. Educational Leadership, 75(3), 50-55.

Linstone, H. A., & Turoff, M. (1975). Introduction in the delphi method: Techniques and applications. Massachusetts: Addison-Wesley.

Stufflebeam, D. L. (2003). International Handbook of Educational Evaluation. Dordrecht: Kluwer Academic Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022