ความคิดเห็นและการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดหนึ่ง ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ต่อประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2563

ผู้แต่ง

  • ลดาวัลย์ ไข่คำ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

พาราควอต, ไกลโฟเซต, คลอร์ไพริฟอส, การปรับตัว, เกษตรกรไทย, ทุเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการใช้สารเคมี ได้แก่ สารพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ของรัฐ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2563 2) เพื่ออภิปรายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในพื้นที่หลังการใช้ประกาศกระทรวงฯ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสังเกตการณ์ร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับตัวแทนเกษตรกร จำนวน 32 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จากตำบลหนึ่งในจังหวัดหนึ่งของภาคตะวันออก

ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแทนเกษตรกรทั้ง 32 คน แสดงคิดเห็นต่อประกาศกระทรวงฯ ที่แตกต่างกัน 3 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรกรกลุ่มที่เห็นด้วย กลุ่มที่ไม่เห็นด้วย และกลุ่มที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับการห้ามใช้สารเคมี และ 2) เกษตรกรมีการปรับตัวภายหลังประกาศกระทรวงฯ แตกต่างกัน ได้แก่ กลุ่มแรก คือ เกษตรกรที่เลิกใช้สารเคมีเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและบรรทัดฐานทางสังคม พวกเขาเลิกใช้สารเคมีอย่างสิ้นเชิงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น กลุ่มแรก คือ ผู้ที่เลือกใช้สารเคมีอื่นหรือใช้สารอื่นทดแทนสารเคมีต้องห้าม และกลุ่มสุดท้าย คือ ผู้ที่ยังคงใช้สารเคมีต้องห้ามต่อไป เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรได้เปรียบมากกว่าเกษตรกรที่ไม่ใช้สารเคมี สุดท้ายงานวิจัยนี้ได้เสนอแนะให้รัฐบาลควรรับฟังความคิดเห็นของเกษตรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงก่อนประกาศบังคับใช้มาตรฐานสารเคมีแห่งชาติ ภาคเกษตรควรเปลี่ยนวิธีปฏิบัติทางการเกษตรอย่างรอบด้านเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน และรัฐควรวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม และเพิ่มผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจต่อไป

References

จุฑามาศ ฉากครบุรี, สุนิสา ชายเกลี้ยง และวิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล. (2562). การพัฒนาเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยเพื่อการเฝ้าระวังการรับสัมผัสสารพาราควอต ในเกษตรกรผู้ฉีดพ่นสารพาราควอต. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 57–68.

ชัยเดช ช่างเพียร และปิยนุช เงินคล้าย. (2564). บทบาทของรัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวอย่างยั่งยืนของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 14-26.

ธันยพร บัวทอง. (2561, 22 สิงหาคม). พาราควอต: ชีวิตจมสารเคมีของเกษตรกรและผู้รับจ้างฉีดยาฆ่าหญ้า. BBC News. https://www.bbc.com/thai/thailand-45268264

พรพิณี กอปรกิจงาม. (2538). การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูทุเรียน ของเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/kukr/search_detail/result/214519

สิริพัฒถ์ ลาภจิตร, สุทธนู ศรีไสย์ และสุพจน์ บุญวิเศษ. (2560). การพัฒนาความมั่นคงชาวนาไทยในเขตอีสานใต้ของประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 9(2), 269-298.

สุภาคย์ ดุลสัมพันธ์. (2013). การพัฒนาความรู้และวิธีปฏิบัติในการใช้สาร. จันทรเกษมสาร, 19(37), 29-38.

สุรชัย โชคครรชิตไชย. (2562). การแบนสารอันตรายต่อสุขภาพ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 9(3), 1-2.

Bain, C., Deaton, J., & Busch, L. (2005). Reshaping the agri-food system: The role of standards, standard makers and third-party certifiers. In V. Higgins & G. Lawrence (Eds.), Agricultural Governance: Globalization and the New Politics of Regulation (pp.71-83). Oxfordshire: Routledge.

BBC News. (2561, 12 สิงหาคม). รู้จัก “ไกลโฟเซต” สารกำจัดวัชพืชที่แพ้คดีสารก่อมะเร็งในสหรัฐฯ. BBC News ไทย. https://www.bbc.com/thai/international-45155365

Campbell, H., & Stuart, A. (2005). Disciplining the organic commodity. In V. Higgins & G. Lawrence (Eds.), Agricultural Governance: Globalization and the New Politics of Regulation (pp. 84-97). Routledge.

EPA. (2016, 28 April). Revised Human Health Risk Assessment on Chlorpyrifos [Overviews and Factsheets]. https://www.epa.gov/ingredients-used-pesticide-products/revised-human-health-risk-assessment-chlorpyrifos

FAO. (2019, 12 June). FAO Country Profiles: Thailand. FAO. http://www.fao.org/countryprofiles/index/en/?iso3=THA

FDA. (2018, 10 June). FDA Circular No. 2018-008. Department of Health, he Republic of the Philippines. https://www.fda.gov.ph/wp-content/uploads/2021/04/FDA-Circular-No.-2018-008.pdf

International Trade Center. (2009, 25 July). Country Profile Thailand. International Trade Center. https://www.intracen.org/exporters/organic-products/country-focus/Country-Profile-Thailand/

Kärkkäinen, M. (2003). Increasing efficiency in the supply chain for short life goods using RFID tagging. International Journal of Retail & Distribution Management, 31, 529–536. https://doi.org/10.1108/09590550310497058

Lamers, M., Schreinemachers, P., Ingwersen, J., Sangchan, W., Grovermann, C., & Berger, T. (2013). Agricultural Pesticide Use in Mountainous Areas of Thailand and Vietnam: Towards Reducing Exposure and Rationalizing Use. In H. L. Fröhlich, P. Schreinemachers, K. Stahr, & G. Clemens (Eds.), Sustainable Land Use and Rural Development in Southeast Asia: Innovations and Policies for Mountainous Areas (pp. 149–173). Springer. https://doi.org/10.1007/978-3-642-33377-4_4

Laohaudomchok, W., Nankongnab, N., Siriruttanapruk, S., Klaimala, P., Lianchamroon, W., Ousap, P., Jatiket, M., Kajitvichyanukul, P., Kitana, N., Siriwong, W., Hemachudhah, T., Satayavivad, J., Robson, M., Jaacks, L., Barr, D. B., Kongtip, P., & Woskie, S. (2021). Pesticide use in Thailand: Current situation, health risks, and gaps in research and policy. Human and Ecological Risk Assessment, 27(5), 1147–1169. https://doi.org/10.1080/10807039.2020.1808777

Lee, B. (2015, 7 July). Prolonged Thailand drought threatens global rice shortage. SciDev. Net. https://www.scidev.net/asia-pacific/news/prolonged-thailand-drought-threatens-global-rice-shortage/

Mandemaker, M., Bakker, M., & Stoorvogel, J. (2011). The Role of Governance in Agricultural Expansion and Intensification: A Global Study of Arable Agriculture. Ecology and Society, 16(2), 1-14. https://doi.org/10.5751/ES-04142-160208

Nicolopoulou-Stamati, P., Maipas, S., Kotampasi, C., Stamatis, P., & Hens, L. (2016). Chemical Pesticides and Human Health: The Urgent Need for a New Concept in Agriculture. Frontiers in Public Health, 18(4), 148.

Panuwet, P., Siriwong, W., Prapamontol, T., Ryan, P. B., Fiedler, N., Robson, M. G., & Barr, D. B. (2012). Agricultural Pesticide Management in Thailand: Situation and Population Health Risk. Environmental Science & Policy, 17, 72–81. https://doi.org/10.1016/j.envsci.2011.12.005

Peline,E.&McMichael, p. (2005). Globalization and Global Governance. In V. Higgins & G. Lawrence (Eds.), Agricultural Governance: Globalization and the New Politics of Regulation (pp.19–34). Routledge.

Tanakasempipat, P. (2020, 1 June). Thailand’s chemical pesticide ban troubles farmers, industries. Reuters. https://www.reuters.com/article/us-thailand-chemicals-idUSKBN 2382IC

TNN. (2562, 9 ตุลาคม). “คลอร์ไพริฟอส พาราควอต ไกลโฟเซต” 3 สารเคมีอันตราย ชื่อนี้ทำไมต้องแบน!. TNN. https://www.tnnthailand.com/news/social/18641/

WHO. (2020, 1 May). The WHO Recommended Classification of Pesticides by Hazard and guidelines to classification. WHO. https://www.who.int/publications-detail-redirect/ 9789240005662

World Bank. (2020, 10 June). Agriculture, forestry, and fishing, value added (% of GDP). World Bank. https://data.worldbank.org/indicator/NV.AGR.TOTL.ZS?year_high_desc=true

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-06-2023