การพัฒนานวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

ผู้แต่ง

  • กิดานันท์ ชำนาญเวช สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ณัฏฐ์ชุดา สุภาพจน์ สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • รัชนีย์ พลพิบูลย์ สาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

นวัตกรรมทางจิตวิทยา, การอ่านออกเขียนได้, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาเชิงลึกด้านการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของผู้เรียนในระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา ในตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 2) พัฒนานวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และ 3) ศึกษาผลการใช้นวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ ประชากรในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา รวมจำนวน 23 คน ผู้ปกครอง จำนวน 221 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาปัญหาเชิงลึก คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 13 คน ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานมีปัญหาการอ่านออกเขียนได้ จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างในการทดลองนวัตกรรม คือ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานมีปัญหาการอ่านออกเขียนได้ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความสามารถในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของผู้ปกครอง และคู่มือสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Sample t–test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาเชิงลึกด้านการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ของผู้เรียน ได้แก่ เด็กขาดการฝึกฝน ผู้ปกครองไม่รู้วิธีการจูงใจและการเสริมแรง ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของตนเองว่ามีส่วนช่วยในการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ 2) นวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การให้ความรู้ การเป็นตัวแบบ และการเสริมแรง และ 3) ผลการใช้นวัตกรรมทางจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง พบว่า ผู้ปกครองที่เข้าร่วมการทดลองหลังการทดลองมีความสามารถในการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้สูงขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกวรรณ สุวิชากรพงศ์ และวรวรรณ เหมชะญาต (2557). บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของเด็กอนุบาล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(1), 236-245.

กนกวรรณ สุภาราญ และกชกร มั่นคงเจริญ. (2564, 13 ตุลาคม). กิจกรรมเสริมแรงเชิงบวกในห้องเรียน. https://www.educathai.com/knowledge/articles/420

กนกวรรณ สุภาราญ. (2564, 12 มีนาคม). การเสริมแรงเชิงบวกในห้องเรียน การเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนักเรียน. https://www.educathai.com/knowledge/articles/420

กลุ่มสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564, 12 มีนาคม). ข้อมูลครูและบุคลากร. https://data.bopp-obec.info/web/index_kru.php?School_ID=1018090114

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

กัลยา โสภณพานิช. (2564, 12 มีนาคม). เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน. https://moe 360.blog/2021/06/30/children-literate/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565, 8 มีนาคม). ช็อค เด็กไทย อ่านไม่ออก 411,346 คน. https://www.komchadluek.net/today-in-history/306807

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, วิมลรัตน์ วันเพ็ญ, ศศกร วิชัย, พัชรินทร์ อรุณเรือง, จันทร์ชนก โยธินชัชวาล, ธนโชติ เทียมแสง, หนึ่งฤทัย ยี่สุ่นศรี, ธัชกร ป้ายงูเหลือม, และนภาพรรณ ล่าเต๊ะ. (2556). การสำรวจสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงและการติดเกมในนักเรียนโรงเรียนนำร่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ธันย์ สุภาแสน. (2563). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประยงค์ ชูรักษ์. (2562). ข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1095-1108.

วรุณา กลกิจโกวินท์, ชัยพร วิศิษฏ์พงศ์อารีย์, พิสาส์น เตชะเกษม, ชาญวิทย์ พรนภดล และบุษบา ศุภวัฒน์ธนดี. (2558). การติดเกมคอมพิวเตอร์ ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกันของเด็กนักเรียนในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วชิรเวชสาร, 59(3), 1-13.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564, 2 กันยายน). แนะ 3 เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กในช่วง COVID-19 ชูการอ่าน เล่นอิสระ พื้นที่สร้างสรรค์ช่วงคืนความสุขให้กับเด็ก. https://mgronline.com/entertainment/detail/964000008

สุกัญญา ปัญญานนท์, สุขุม มูลเมือง และสมหญิง จันทรุไทย. (2564). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านผึ้ง (มธุลีห์ ประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 1. Education journal Faculty of Education, 4(3), 81-93.

สุปราณี สายช่วย, ปกรณ์ชัย สุพัฒน์, เมธี วิสาพรม และจิตติมาภรณ์ สีหะวงษ์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ วังหิน 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(1), 221-232.

สุลาวัลย์ อินทร์กอ. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านช่องกะพัด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Poole, C. (2001). How to involve families in classroom. Scholastic Early Childhood Today, 15(4), 34-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-11-2023