อิทธิพลของปัจจัยองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการขนส่งของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • สุคนธ์ทิพย์ วงศ์พันธ์ สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคธัญบุรี
  • สุรีรัตน์ อินทร์หม้อ สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคธัญบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยองค์กร, ประสิทธิภาพการขนส่ง, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยองค์กรเพื่อประสิทธิภาพการขนส่ง 2) ระดับประสิทธิภาพของการขนส่ง 3) ลักษณะขององค์กรที่แตกต่างกันที่มีผลต่อประสิทธิภาพการขนส่ง และ 4) อิทธิพลของปัจจัยองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการขนส่งของวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประเทศไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณเพื่อการทดสอบสมมติฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยองค์กรเพื่อประสิทธิภาพการขนส่ง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.89, SD = 0.76) 2) ระดับประสิทธิภาพของการขนส่งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.34, SD = 0.77) 3) ลักษณะขององค์กร ได้แก่ ประเภทของผู้ประกอบการ จำนวนการจ้างงานและจำนวนเงินลงทุนที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพการขนส่งของวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมแตกต่างกัน ยกเว้นจำนวนปีที่ดำเนินการขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ปัจจัยองค์กร ด้านวัฒนธรรมองค์กร (β = -.250, p < .01) และการกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านนวัตกรรม (β = .688, p < .01) ส่งผลต่อประสิทธิภาพการขนส่งของวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อม ยกเว้นปัจจัยองค์กรด้านการวางแผนการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการขนส่ง (β = -.019, p > .01) ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการขนส่งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). การจัดการคลังสินค้า (พิมพ์ครั้งที่ 2). บริษัท โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิง จํากัด.

ฐาปนา บุญหล้า. (2559, 16 พฤศจิกายน). โลจิสติกส์ สร้างความอยู่รอดอย่างยั่งยืน. https://columnist.smartsme.co.th/smartsme-sanae/350

ฐาปนี เรืองศรีโรจน์ และขวัญกมล ดอนขวา. (2563). ปัจจัยเสริมสร้างอิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีต่อสมรรถนะการให้บริการขนส่งสินค้าทางถนนของผู้ให้บริการโลจิสติกส์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, 14(2), 57-68.

ดวงพรรณ กริชชาญชัย, มนสิชา ธนกาญจนโรจน์, ศรีวิมล พันธุ์วงศา, ปฏิพล เอี่ยมวัฒนศิลป์, และศิริรัตน์ ศรีสกุลวรรณ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการร่วมขนส่งของผู้ผลิตในการค้าปลีกสมัยใหม่. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2), 16–27.

ดาริกา แสนพวง และสุดาพรรณ อาจกล้า. (2565). ศึกษาปัญหาและการพัฒนาความเชื่อมโยงระบบการตลาดระบบโลจิสติกส์แบบเบ็ดเสร็จ 4.0 กลุ่มธุรกิจภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดนครพนม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(1), 45-60.

ธนสิทธิ นิตยะประภา, บัณฑิต ศรีสวัสดิ์, และพศวีร์ ศิริสราญลักษณ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้า อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 26(3), 122–128.

ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งของธุรกิจซื้อมาขายไปในระเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7(2), 81–95.

วิรินธร ลบแย้ม และสมบูรณ์ สาระพัด. (2564). อิทธิพลของกระบวนการจัดการและวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดย่อมในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 38(2), 111-138.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564, 28 เมษายน). แผนการส่งเสริม SME พ.ศ. 2564-2565. https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20210820091040.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565, 1 ธันวาคม). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 09 เขตเศรษฐกิจพิเศษ. http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2022/03/15_NS-09_070365.pdf

สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2558). การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์กับผลกำไรของธุรกิจ SMEs. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(18), 97-102.

อารยา อึงไพบูลย์กิจ. (2559). ปัจจัยเหตุและผลของขีดความสามารถเชิงพลวัตของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมธุรกิจการขนส่งในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 349-363.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.) New York: Harper & Row.

Haar, J., O’Kane, C., & Daellenbach, U. (2021). High performance work systems and innovation in New Zealand SMEs: testing firm size and competitive environment effects. The International Journal of Human Resource Management, 33(16), 1-29.

Hair, J., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson Education International.

Serrasqueiro, Z. S., & Maçãs Nunes, P. (2008). Performance and size: empirical evidence from Portuguese SMEs. Small Business Economics, 31(2), 195-217.

Tang, G., Park, K., Agarwal, A., & Liu, F. (2020). Impact of innovation culture, organization size and technological capability on the performance of SMEs: The case of China. Sustainability, 12(4), 1355.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row.

สุคนธ์ทิพย์66

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-03-2023