กลวิธีทางภาษาที่สื่อภาพตัวแทนครูผ่านมุมมองและน้ำเสียงของรัฐในวาทกรรมหนังสือพิมพ์รายวันไทย

ผู้แต่ง

  • สิรภพ โพธิมา สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • รัชนีย์ญา กลิ่นน้ำหอม สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ภาพตัวแทน, วาทกรรม, ครู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษาและภาพตัวแทนครู โดยวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่สื่อภาพตัวแทนครูจากข่าวที่นำเสนอผ่านมุมมองและน้ำเสียงของรัฐที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวันไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และใช้กรอบมิติทั้งสามของวาทกรรมของแฟร์คลัฟ เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ตัวบทหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งปรากฏข่าวที่นำเสนอเกี่ยวกับครู 812 ข่าว

ผลการวิจัยพบว่า การศึกษากลวิธีทางภาษาที่ประกอบสร้างภาพตัวแทนครูจากมุมมองและน้ำเสียงของรัฐในหนังสือพิมพ์รายวันไทย ปรากฏภาพตัวแทนครู 2 ลักษณะ คือ ภาพตัวแทนครูที่มีคุณลักษณะด้านลบ และมีความประพฤติไม่เหมาะสม โดยประกอบด้วยภาพตัวแทนย่อยที่สนับสนุนภาพตัวแทนหลัก 4 ภาพตัวแทน คือ ครูคือผู้ที่ใช้ความรุนแรงต่อนักเรียน ครูด้อยความรู้ความสามารถ ครูคือผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย และครูมีปัญหาหนี้สินไม่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ และภาพตัวแทนครูที่มีคุณลักษณะด้านบวก ซึ่งมีความเป็นครูตามที่สังคมคาดหวัง ประกอบด้วยภาพตัวแทนย่อยที่สนับสนุนภาพตัวแทนหลัก 3 ภาพตัวแทน ได้แก่ ครูคือผู้อุทิศตนเพื่อนักเรียนและสังคม ครูคือบุคคลที่สังคมคาดหวังเป็นผู้พัฒนาอนาคต และครูคืออาชีพที่น่าภาคภูมิใจ ซึ่งภาพตัวแทนได้นำเสนอผ่านกลวิธีทางภาษา 3 กลวิธีหลัก คือ 1) กลวิธีทางศัพท์ ได้แก่ (1) การใช้คำอ้างถึง (2) การใช้คำกริยาที่สื่อความหมายการกระทำ 2) กลวิธีทางไวยากรณ์ คือ การใช้ประโยคกรรม และ 3) กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ได้แก่ (1) การใช้ทัศภาวะ (2) การใช้มูลบท (3) การใช้สหบท อย่างไรก็ตามภาพตัวแทนที่สะท้อนจากน้ำเสียงและมุมมองของรัฐแสดงให้เห็นภาพด้านลบเด่นชัดกว่าภาพด้านบวก ซึ่งมาจากปัจจัยการผลิตตัวบทที่เร้าความสนใจผู้รับสาร จึงอาจทำให้ส่งผลต่อทัศนคติ ความคิดและความเชื่อมั่นที่สังคมมีต่อครูลดลง และอาจสัมพันธ์กับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น การเรียกร้องชุมนุมของนักเรียน การที่รัฐออกนโยบายพัฒนาครู หรือการออกนโยบายแก้ปัญหาหนี้สินครู

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. https://www.moe.go.th.

ครูใช้แปรงลบกระดานตบหน้า นร. (2563, 29 มีนาคม). ไทยรัฐ, 22.

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2562). การวิเคราะห์ข้อความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฏฐพลฟุ้งงบฯศธ.ปี65ขยับเพิ่มขึ้นแน่. (2563, 4 พฤศจิกายน). เดลินิวส์, 8.

ธีระ บุษบกแก้ว. (2562). ภาพตัวแทนผู้สูงอายุไทยที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมสื่อสาธารณะ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิติพงศ์ พิเชฐพันธุ์. (2553). วาทกรรมเหตุการณ์ณ์พิพาทเขาพระวิหาร พ.ศ.2551 จากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและอุดมการณ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บิ๊กตู่เปิดวันครูปี 63 ชูแม่พิมพ์ผู้เสียสละ. (2563, 17 มกราคม). มติชน, 1.

บิ๊กตู่เร่งศธ.ผุดมาตรการแก้หนี้ครู. (2563, 2 มีนาคม). มติชน, 18.

ปลุกครูก้าวออกจากกรอบพร้อมรับกับการพัฒนา. (2563, 17 มกราคม). ไทยรัฐ, 12.

เปิดนโยบายเชิงรุก ศธ.“ไล่ออกครู”ล่วงละเมิดนักเรียน ศคพ.คุ้มครอง-เยียวยาร่างกาย-จิตใจ. (2563, 27 กันยายน). ไทยรัฐ, 14.

มอบคุรุสภาวางโจทย์ผลิตครู. (2563, 5 มีนาคม). ไทยรัฐ, 12.

มาตรฐานตำแหน่ง-วิทยฐานะใหม่. (2563, 25 ธันวาคม). ไทยรัฐ, 12.

แม่บุกร้องอัยการครูข่มขืนลูกวัย12. (2563, 20 พฤษภาคม). ไทยโพสต์, 1.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทางการนำมาศึกษาภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สะท้อนระบบการศึกษาไทยปมครูทำร้ายนร.อนุบาล. (2563, 5 ตุลาคม). เดลินิวส์, 1.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษา. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สิริภัทร เชื้อกุล (2563). ภาพตัวแทนผู้เรียนอาชีวศึกษาที่ประกอบสร้างผ่านภาษาในวาทกรรมสื่อมวลชนและวาทกรรมสื่อภาครัฐ: การศึกษาแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุขุม เฉลยทรัพย์. (2563, 16 มกราคม). ความเชื่อมั่นครูไทย จาก “ปี52” ถึง “ปี62”..!!? https://siamrath.co.th

สุจิตรา แซ่ลิ่ม. (2561). ภาพตัวแทนของผู้ชุมนุมทางการเมืองในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองช่วง พ.ศ.2549-2557 ในพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ภาษาไทย: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หนี้ครูเอ็นพีแอลพุ่ง4หมื่นล. (2563, 5 กุมภาพันธ์). มติชน, 8.

อินโฟเควส. (2564). เจาะลึกข้อมูลสื่อไทยปี 2563. https://www.infoquest.co.th

DLTV ยกระดับการศึกษา รร.ห่างไกล. (2563, 6 มิถุนายน). เดลินิวส์, 24.

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: the critical study language. Longman.

Hall, S. (1997). Representation: Cultural Representation and Signifying Practice. SAGE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-06-2023