รูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาในรูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบในบริบทจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง สาขาเทคโนโลยีการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิภาวี ศิริลักษณ์ สาขาวัดและประเมินผลการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบและกลไก, แนวปฏิบัติที่ดี, การพัฒนาวิชาชีพ, การพัฒนาสถานศึกษาทั้งระบบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสถานศึกษา และ 2) ศึกษาผลการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ ด้วยการวิจัยเชิงผสมผสาน ใช้เครื่องมือ 11 ชุด เก็บรวบรวมข้อมูลกับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย 2 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกทำการศึกษากับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และครู จำนวน 24 คน และระยะที่สองทำการศึกษากับผู้บริหารสถานศึกษาและครูกลุ่มเดิม และนักเรียน จำนวน 395 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการคำนวณคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์   ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบและกลไกการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีของกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพไปใช้ในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งสถานศึกษา ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนซึ่งคณะครูเลือกอย่างอิสระจากแนวปฏิบัติที่ดีของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ได้แก่ รูปแบบการบริหาร R A L Model เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ และ 2) ผลการนำองค์ความรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ พบว่า สมรรถนะทั่วไปของผู้เรียนหลังการใช้รูปแบบและกลไกฯ ของทั้ง 2 โรงเรียน สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบและกลไกฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมรรถนะของครูและผู้บริหารสถานศึกษาหลังการใช้รูปแบบและกลไกฯ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

References

กติญา บุญสวน. (2564). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูชีววิทยา โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 195-211.

กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว และพิชชาดา ประสิทธิโชค. (2564). การโค้ชเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนในการดำเนินโครงการจิตอาสาทำความดีเพื่อสังคม. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 22(1), 150-165.

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563, 19 ธันวาคม). เอกสารโครงการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รุ่นที่ 2 ปี 2563. http://www.ayutthayalocal.go.th/files/com_order_general/2020-12_ea7897d8e55718e.pdf

นุชวนา เหลืองอังกูล. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการวิจัยโดยผู้ปฏิบัติงาน (Action Research: AR and Practitioner Research: PR). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9, 38-42.

มนตรี แย้มกสิกร. (2559, 27-28 สิงหาคม). ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ: ความท้าทายต่อการเปลี่ยนตนเองของครู. ใน การวิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2559. ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ.

รัตนะ บัวสนธ์. (2554). วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานทางการศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 2(2), 7-20.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2560). สมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครูที่เข้าร่วม เป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารครุศาสตร์, 45(4), 142-163.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, เฉลิมพล สายประเสริฐ, พอตา บุนยตีรณะ และวรรณภา อารีย์. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สายสมร ศักดิ์คำดวง, สุพจน์ ประไพเพชร, สุดสวาสดิ์ ประไพเพชร, วสันต์ แสงเหลา และ ไกศิษฏ์ เปลรินทร์. (2565). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: แนวทางการประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 1(3), 38-52.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564ก, 20 พฤษภาคม). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. https://otepc.go.th/images/00_YEAR2564/03_PV1/1Mv9-2564.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564ข, 20 พฤษภาคม). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา. https://otepc.go.th/images/00_YEAR2564/03_PV1/2Mv10-2564.pdf

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2563, 2 กุมภาพันธ์). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2562. https://pathum1.go.th/รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนระดับปฐมวัย%20ปี%202562.pdf

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2564, 5 สิงหาคม). การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานระบบการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาความลุ่มลึกทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประจำปี 2564 ครั้งที่ 2/2564 [เอกสารประกอบการประชุม], กรุงเทพมหานคร.

อังค์วรา วงษ์รักษา, ปริญญา มีสุข และ ทิพยวิมล วังแก้วหิรัญ. (2565). ปัจจัยความสำเร็จและผลลัพธ์ในการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของคุรุสภา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(2), 245-258.

DeGEval–Gesellschaft für Evaluation E.V. (2008). (Hg.): Standards für Evaluation, 4. Unveränderte Auflage. Mainz: 10-13.

Goldberg, J., Sklad, M., Elfrink, T., Schreurs, K., Bohlmeijer, E., & Clarke, A. (2018). Effectiveness of interventions adopting a whole school approach to enhancing social and emotional development: a meta-analysis. European Journal of Psychology of Education, 34, 755–782.

Hinyard, L., Toomey, E., Eliot, K., & Breitbach, A. (2019). Student Perceptions of Collaboration Skills in an Interprofessional Context: Development and Initial Validation of the Self-Assessed Collaboration Skills Instrument. Evaluation & the Health Profession, 42(4), 450–472.

Mezo, P. (2008). The Self-Control and Self-Management Scale (SCMS): Development of an Adaptive Self-Regulatory Coping Skills Instrument. Journal of Psychopathology and Behavioral Assessment, 31, 83-93.

McCroskey, J. C., & McCroskey, L. L. (1988, November 22). Self-Perceived Communication Competence Scale (SPCC). https://www.jamescmccroskey.com/measures/communication_competence.htm

Morais, D. B., & Ogden, A. C. (2011). Initial Development and Validation of the Global Citizenship Scale. Journal of Studies in International Education, 15(5), 445–466.

Partners in Prevention. (2014, September 1). A whole school approach to respectful relationships education. https://safeandequal.org.au/resources/a-whole-school-approach-to-respectful-relationships-education-in-schools

Sarigoz, O. (2012). Assessment of the high school students’ critical thinking skill. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 46, 5315–5319.

Tep, P., Maneewan, S., & Chuathong, S. (2021). Psychometric examination of Runco Ideational Behavior Scale: Thai adaptation. Psicologia: Reflexão e Crítica, 34(4), 5315–5319.

Vincent, L. (2004). Coaching of meaning: The culture and practice of coaching and team building. Palgrave Macmillan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-12-2023