การคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พงศ์วัชร ฟองกันทา สาขาวิธีวิทยาการวิจัยและการประเมิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง https://orcid.org/0000-0001-6261-5367
  • ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อัมเรศ เนตาสิทธิ์ สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • สุวรรณี เครือพึ่ง สาขาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • พิชชา ถนอมเสียง สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

สมรรถนะนวัตกร, การคิดเชิงออกแบบ, กิจกรรมกลุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกร 2) ศึกษาสมรรถนะนวัตกรจากการใช้รูปแบบกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง จังหวัดลำปาง จำนวน 48 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบกิจกรรมการพัฒนาสมรรถนะนวัตกร แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบกิจกรรม แบบวัดสมรรถนะนวัตกร แบบประเมินผลงานนวัตกรรมและแบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอ้างอิงเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะนวัตกร ด้วยการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมกลุ่มโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานในการส่งเสริมสมรรถนะนวัตกร ประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 ผลิตภัณฑ์ จักสานที่ควรจะเป็น กิจกรรมที่ 2 การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จักสานให้โดนใจคนใช้ กิจกรรมที่ 3 ถูกใจใช่เลย “เครื่องจักสานจากชุมชน” และกิจกรรมที่ 4 ทำอย่างไรให้ขายดี มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบกิจกรรมอยู่ในระดับดี 2) สมรรถนะนวัตกรของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะนวัตกรสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลต่างของค่าเฉลี่ยสมรรถนะนวัตกรหลังและก่อนการจัดกิจกรรมเท่ากับ 2.17 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะนวัตกร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านลักษณะกิจกรรมและด้านประโยชน์ของกิจกรรมมีความพึงพอใจในระดับมาก

References

พิชญา กล้าหาญ และวิสูตร โพธิ์เงิน. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์, 49(2),1-16.

เพ็ญจมาศ คำธนะ, นงนุช วงศ์สว่าง, กมลพร แพทย์ชีพ และปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรการคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนวัตกรของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(1), 103-117.

ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ และปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แนวคิดการคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฎอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48(3), 258-273.

มานิตย์ อาษานอก. (2561). การบูรณาการการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 6-12.

วสันต์ สุทธาวาศ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University, 8(2), 281-300.

วสันต์ สุทธาวาศ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). วิธีพัฒนาศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University. 9(1), 748-767.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562ก). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. ศูนย์ผู้นำพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562ข). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างจิตนวัตกรรม. ศูนย์ผู้นำพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรพล บุญประกอบ, จักรกฤษณ์ จันทะคุณ และอังคณา อ่อนธานี. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมสีเขียวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(2), 1078-1095.

แสงเดือน เจริญฉิม, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, พินดา วราสุนันท์, วิทยา ซิ้มเจริญ และศตนันทน์ ทิพวรวิมล. (2565). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านหลักสูตร สำหรับนิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(2), 345-363.

สำนักปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ. (2565, 2 พฤศจิกายน). สรุปการประชุมแผนพัฒนาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). https://shorturl.asia/1irGk

Brown, T. (2008). Design Thinking. Harvard Business Review (2), 84-95.

Choi, H. H., & Kim, M. J. (2017) The effects of analogical and metaphorical reasoning on design thinking. Thinking Skills and Creativity, 23, 29–41.

DEX Space. (2017, June 1). Design Thinking คืออะไร. http://www.dexspace.co/design-thinking-overview/

Dyer, J., Gregersen, H., & Christensen, M. C. (2011). The Innovator’s DNA: Mastering the Five Skills of Disruptive Innovators. Harvard Business School Publishing.

Furr, R. N., & Dyer, J. H. (2014). The Innovator's Method: Bringing the Lean Start-up into Your Organization. Harvard Business School Press.

Couros, G. (2010, April 13). The 21 Century Principal. https://georgecouros.ca/blog/archives/1467.

Lindfors, E., & Hilmola, A. (2015). Innovation learning in comprehensive education. International Journal of Technology and Design Education, 26(3), 373-389.

Martin, R. (2010). Design Thinking: Achieving Insights Via the “Knowledge Funnel”. Strategy & Leadership, 38(2), 37-41.

Thailand Creative & Design Center. (2560, 1 สิงหาคม). Design thinking: Learning by doing การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. http://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thinking.Learning.by.Doing.pdf

The Stanford d.school Bootcamp Bootleg. (2010, March 25 ). An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE. https://dschool-old.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-12-2023