แนวโน้มของเครื่องมือและเทคนิคการบริหารในอนาคต

ผู้แต่ง

  • พงศกร ศรีรงค์ทอง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การบริหาร, เครื่องมือการบริหาร, เทคนิคการบริหาร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวโน้มของเครื่องมือและเทคนิคการบริหารในอนาคต ซึ่งการบริหารองค์การทั้งภาครัฐและเอกชนต้องปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยใช้การจำแนกตามเกณฑ์หน้าที่ (Function) เพื่อให้เข้าใจการใช้งานของเครื่องมือ และเทคนิคการบริหารได้ดีขึ้น ประกอบด้วย 4 เทคนิค ได้แก่ 1) เทคนิคการบริหารด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ที่ต้องอาศัยแนวคิดการคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ หลักการวิเคราะห์ SOAR และแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas) 2) เทคนิคการบริหารด้านการจัดการความรู้ที่ต้องเชื่อมโยงกับปัญญาประดิษฐ์ 3) เทคนิคการบริหารด้านการจัดการคุณภาพที่ต้องมีการผสมผสานระหว่างการจัดการคุณภาพและการปรับรื้อระบบ และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่นำไปสู่ระบบราชการ 4.0 และ 4) เทคนิคการบริหารความเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการภาวะวิกฤต การบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างมูลค่าให้กับองค์การ และการบริหารความเสี่ยง VUCA

สำหรับแนวทางการประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคนิคการบริหาร ควรพิจารณาในประเด็นดังนี้ 1) ต้องเข้าใจหลักการและวัตถุประสงค์ที่สำคัญของเครื่องมือและเทคนิคการบริหารแต่ละอย่าง 2) ต้องเข้าใจก่อนว่าปัญหาขององค์การคืออะไร และ 3) ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจวัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญ คือ ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของแต่ละองค์การ รวมทั้งต้องศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละองค์การเพื่อหาแนวทางในการประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

References

กุลเชษฐ์ มงคล. (2563). การคาดการณ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Foresight) ภายใต้วิกฤตหลังวิกฤต: สมรรถนะสำคัญของกำลังคนในโลกแห่งความผันผวนยุค VUCA. วารสารข้าราชการ Civil Service e-Journal, 62(2), 12-14.

จักรกฤษณ์ สิริริน. (2563, 30 เมษายน). A.I.K.M. “ธงนำใหม่” แวดวง “การจัดการความรู้”. https://www.salika.co/2020/04/30/artificial-intelligence-knowledgemanagement-part-2/

ชานน ชลวัฒนะ และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ นวัตกรรม ความได้เปรียบทางการแข่งขันและความยั่งยืนขององค์การของบริษัทผลิตสินค้าในประเทศไทย. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 18-41.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2553). เครื่องมือการจัดการ Management Tools (พิมพ์ครั้งที่ 3). แซท โฟร์ พริ้นติ้ง.

ธีระศักดิ์ เปี่ยมสุภัคพงศ์, ธีระรัตน์ เปี่ยมสุภัคพงศ์, พรพรรณ สุวรรณประทีป, สุกานดา โรจนประภายนต์, วัฒนา เสรีคุณากุล. (2561). การเรียนรู้เพื่อรับมือกับการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจในบริบทใหม่ ยุคอุตสาหกรรม 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(2), 171-181.

นารถ จันทวงศ์. (2563, 24 กรกฎาคม). เครื่องมือทางการจัดการกับการนำมาใช้ในองค์กร. https://www.managementinaction.info/?p=968

พงศกร ศรีรงค์ทอง. (2564). เทคนิคการบริหาร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ฟิลลิปส์ จิระประยุต และเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2558). การนำเครื่องมือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในหน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(1), 13-33.

ภิญโญ รัตนาพันธุ์. (2556). SOAR Analysis: เครื่องมือที่นำมาใช้แทน SWOT Analysis. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 7-19.

มโนชัย สุดจิตร. (2559). การนำการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์การมาสนับสนุนการบริหารจัดการคุณภาพภาครัฐ. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(1), 1–19.

รดามณี พัลลภชนกนาถ และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. (2560). อิทธิพลของการจัดการคุณภาพ และการจัดการโครงการที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านนวัตกรรม. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 39(154), 62–104.

สถาบันคลังสมองของชาติ. (2563). การบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษา. สถาบันคลังสมองของชาติ.

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). The Knowledge Creating Company. Oxford University.

Sanzogni, L., Guzman, G., & Busch, P. (2017). Artificial intelligence and knowledge management: questioning the tacit dimension. Prometheus, 35(1), 37-56.

Taherdoost, H., & Madanchian, M. (2023). Artificial Intelligence and Knowledge Management: Impacts, Benefits, and Implementation. Computers, 12(72), 1-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2023