การปรับวงดนตรีไทยตามแนวคิดองค์ประกอบดนตรี
คำสำคัญ:
การปรับวงดนตรีไทย, องค์ประกอบดนตรี, ปัจจัยในการปรับวงบทคัดย่อ
การปรับวงดนตรีไทย เป็นการวางรูปแบบการบรรเลงดนตรีไทยให้เกิดความไพเราะเหมาะสม มีคุณภาพการบรรเลงที่ดีขึ้น ผู้ปรับวงพิจารณาแนวการปรับวงดนตรี เทคนิคการบรรเลงจากผู้บรรเลงดนตรี คุณภาพของเครื่องดนตรี ลักษณะของวงดนตรี บทเพลง และโอกาสในการบรรเลง โดยในการปรับวงดนตรีไทยจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1.1) ความรู้ด้านองค์ประกอบทางดนตรี ประกอบด้วย จังหวะ ทำนอง เสียงประสาน รูปพรรณ สีสัน ลักษณะของเสียง และรูปแบบ 1.2) ความรู้หลักการในเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทย ในเรื่องของประเภทเพลงไทย และประเภทวงดนตรีไทย และ 1.3) เทคนิคเฉพาะตัว และประสบการณ์ของผู้ปรับวงดนตรี 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ 2.1) ความพร้อมของนักดนตรี 2.2) ความพร้อมของเครื่องดนตรี 2.3) ความพร้อมของสถานที่ใช้ฝึกซ้อม และ 2.4) ความพร้อมด้านงบประมาณ การสนับสนุนของสถานศึกษา และผู้ปกครอง
References
กชภรณ์ ตราโมท. (2546). เทิด ส.ธ. มูลนิธิมนตรี ตราโมท.
จันทนา คชประเสริฐ. (2564). ร่ายใน-ร่ายนอก: การดำเนินเรื่องของโขนละคร. วารสารดนตรีและการแสดง, 7(1), 134-143.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 10). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัฐพงศ์ โสวัตร. (2544). การปรับวงดนตรีไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 20(1), 53-55.
ดนตรีไทยอุดมศึกษา. (2559, 21 สิงหาคม). บทร้องเพลงชื่นชุมนุม-กลุ่มดนตรี พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. Thaimusic. http://www.thaimusic.up.ac.th/
พิชิต ชัยเสรี. (2559). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชชาณัฐ ตู้จินดา. (2556, 2 กันยายน). เพลงเรื่อง: ความหมาย หน้าที่ และความสำคัญ. Kotavaree. http://kotavaree.com/?p=71
มนตรี ตราโมท. (2545). คำบรรยายวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย. กรมศิลปากร.
ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์. (2559). ดนตรีไทยศึกษา: ว่าด้วยการปรับวงดนตรีไทย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ-ดุริยางค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สหมิตรพริ้นติ้ง.
สันทัด ตัณฑนันทน์. (2542). บันทึกเพลงไทยเป็นโน้ตสากลอย่างไร. สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สงบศึก ธรรมวิหาร. (2545). ดุริยางค์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว