ศิลปะตกแต่งกับการสร้างความร่วมมือเพื่อแหล่งท่องเที่ยวชนบท กรณีศึกษาตลาดโบราณร้อยปี ชุมชนคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
ศิลปะตกแต่ง , การสร้างความร่วมมือเพื่อแหล่งท่องเที่ยวชนบท, ตลาดโบราณร้อยปี, ชุมชนคุ้งสำเภาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนได้ทบทวนวิทยานิพนธ์เรื่อง “ศิลปะและการออกแบบกิจกรรมการมีส่วนร่วมเพื่อแหล่งท่องเที่ยวชนบท” โดยศึกษาและสำรวจพื้นที่เป้าหมายและทดลองสร้างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะหลายรูปแบบ เพื่อวิเคราะห์ผลของกิจกรรมที่สร้างความตระหนักให้ผู้มีส่วนได้เสียต่อยอดสู่กิจกรรมที่กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ กิจกรรมสตรีตอาร์ตสร้างจุดเช็กอิน กิจกรรมถ่ายภาพแฟชั่นคอสเพลย์กับรถโบราณ และสตรีตอาร์ต กิจกรรมสร้างสรรค์เมนูอาหารด้วยวัตถุดิบท้องถิ่น กิจกรรมเขียนภาพทิวทัศน์-วิถีชีวิตชุมชนโดยนักท่องเที่ยวจากการสังเกตและวิเคราะห์ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมศิลปะตกแต่งสตรีตอาร์ตสร้างจุดเช็กอิน ในชุมชนริมน้ำเก่าแก่แห่งแรกของอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท สามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกิจกรรมทางศิลปะอื่นที่ผู้เขียนดำเนินการ เพราะกิจกรรมสตรีตอาร์ตต้องได้รับความเห็นชอบและยินยอมให้ดำเนินการโดยเจ้าบ้าน ทายาท หรือผู้มีอำนาจ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ศิลปินสนใจสร้างสรรค์ในพื้นที่ และด้วยผลของเทคโนโลยีสื่อสารในสังคมออนไลน์ท้องถิ่นสัมพันธ์ปัจจุบันทำให้ชุมชนในท้องถิ่นเกิดการตื่นตัว แบ่งปันและบอกต่อข้อมูลความแปลกใหม่จนกลายเป็นกระแสอย่างรวดเร็ว สร้างโอกาสให้ผู้เขียนสามารถขยายผลสู่การได้รับความร่วมมือทั้งในและนอกชุมชนร่วมกันจัดตลาดนัดรองรับผู้สนใจแวะมาท่องเที่ยว กระทั่งสามารถได้รับการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกจากหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นได้สำเร็จ โดยความร่วมมือนี้เป็นไปตามกรอบแนวคิดทฤษฎีทางเศรษฐกิจ CSV (Creating Shared Value) ที่เป็นการแบ่งปันคุณค่าร่วมกันระหว่างชุมชนเจ้าของพื้นที่และภายนอก
References
กนกวรา พวงประยงค์ และสานิตย์ หนูนิล. (2561). สังคมชนบทไทยสมัยใหม่กับปัจจัยกำหนดวิถีการดำเนินชีวิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(2), 34-64.
กลุ่มบางกอก สเกตช์เชอร์ส (Bangkok Sketchers Group). (2022, 23 พฤศจิกายน). การประชาสัมพันธ์กิจกรรมวาดภาพมโนรมย์ชัยนาทโดยกลุ่มบางกอกสเก็ตเชอร์. https://www.facebook.com/groups/bksketchers/permalink/10162721176259517/
ญาณภา บุญประกอบ, จักรวาล วงศ์มณี, สิริพร เขตเจนการ และโยธิน แสวงดี. (2560). อาหารพื้นถิ่นกับกลไกในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11, 93-108.
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563, 23 มกราคม). สตรีตอาร์ต ชุบชีวิตมรดกเมืองและสถาปัตยกรรม ศิลปะบนผนังที่ช่วยเพิ่มมูลค่าและสร้างพลวัตให้กับย่านและชุมชน. https://www.asaexpo.org/post/street-art
Cohen, E., & Avieli, N. (2004). Food in tourism: Attraction and Impediment. Annals of Tourism Research, 31(4), 755-778.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว