ประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงของเมืองมีนบุรี

ผู้แต่ง

  • พรรณี บัวเล็ก สาขาวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

เมืองมีนบุรี, การตั้งถิ่นฐาน, การเปลี่ยนแปลงของเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงของเมือง มีนบุรี และศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นับแต่เริ่มต้นตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนต่าง ๆ ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์จนถึงการพัฒนาเข้าสู่สังคมผลิตข้าวและสังคมอุตสาหกรรมในปัจจุบัน งานวิจัยนี้ ใช้วิธีการศึกษาแบบประวัติศาสตร์ที่มีการแบ่งช่วงระยะเวลาการศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้น การตั้งถิ่นฐานของคนกลุ่มต่าง ๆ (สมัยต้นรัตนโกสินทร์ถึงทศวรรษ 2410) ระยะที่สอง สังคมการผลิตข้าว (ทศวรรษ 2420-2490) ในช่วงเวลานี้ ใน พ.ศ. 2445 มีการตั้งเมืองมีนบุรี สังคมไทยเดินหน้าสู่การผลิตข้าวเพื่อการส่งออก และระยะที่สาม ระยะเข้าสู่สังคมเมืองอุตสาหกรรมและเป็นเมืองอยู่ในปริมณฑลของเมืองกรุงเทพฯ (พ.ศ. 2500-ปัจจุบัน) วิถีชีวิตของชาวนาค่อย ๆ หมดไป ประชาชนได้ปรับตัวเข้าสู่เมืองใหม่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้

References

จอห์นสตัน เดวิด บรูซ. (2530). สังคมชนบทและภาคเศรษฐกิจข้าวของประเทศไทย 2423-2473. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

รัชนี ไผ่แก้ว. (2545). วิถีชีวิตไทยมุสลิมชุมชนหนองจอก [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วชิร สอแสง และดนัย ทายตะคุ. (2555). การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และสถานการณ์ของพื้นที่เกษตรกรรม ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครท่ามกลางกระแสความเป็นเมือง. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 8(1): 1-19.

วิทยาลัยช่างศิลป. (2566, 7 กรกฎาคม). ประวัติโรงเรียนช่างศิลป. www.bpi.ac.th

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2559). สังคมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา: พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.

สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.(2566, 4 กรกฎาคม). ประวัติคณะเทคโนโลยีการเกษตร. www.agrikmitlalumni.com

สมคิด ทองสิมา และบุญมา ศรีสุรเมธี. (2526). ประวัติวัดทั่วพระราชอาณาจักร เล่ม 2. กรมพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาพื้นที่การปกครองของกรุงเทพมหานคร.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566, 4 กรกฎาคม). สนามบินสุวรรณภูมิ 45 ปีที่รอคอย. https://www.nesdc.go.th

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2563, 11 ตุลาคม). คลองแสนแสบคือคลองมหานาคกรุงเทพเชื่อมคลองบางขนาก ฉะเชิงเทรา. https://www.matichonweekly.com/column/article_355137

เสถียร ลายลักษณ์, บุญเรื่อง นาคีนพคุณ และบุญธรรม ศิริฤทธิ์ (รวบรวม). (2478). ประชุมกฎหมายประจำศก จศ. 1230-1236 (พ.ศ. 2411-2417) เล่ม 8 พ.ศ. 2478. กรุงเทพฯ.

เสถียร ลายลักษณ์, บุญเรื่อง นาคีนพคุณ และบุญธรรม ศิริฤทธิ์ (รวบรวม) (2478). ประชุมกฎหมายประจำศก จ.ศ. 1237-1239 (พ.ศ. 2418-2420) เล่ม 9. กรุงเทพฯ.

หอจดหมายแห่งชาติ. ผจ.ร.5 กษ. 22 แผนที่คลองต่าง ๆ ในบริเวณทุ่งหลวงฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยาของบริษัทขุดคลองแลคูนาสยามลิมิเตล พ.ศ. 2447.

หอจดหมายแห่งชาติ. ร.5 กษ.9.41 บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม พ.ย. 107.-4 ธ.ค. 118.

หอจดหมายแห่งชาติ. ร.6.น.43/63 การช่วยเหลือราษฏรในการทำนา ทำสวนที่ต้องอุทกภัย เสียหายเพราะน้ำมากน้ำน้อย (22 ส.ค.-16 ส.ค. 2468).

หอจดหมายแห่งชาติ ร.5/1-ร.6/1 น.10.2 ช/1 รายงานความเสียหายน้ำมากน้ำน้อย (30 ต.ค. 2451-26 ส.ค. 2469).

Lauriston, S., & Lucien, M. H. (1978). Bang Chan: Social History of a Rural Community in Thailand. Cornell University Press.

Lissom Logistics. (2566, 7 กรกฎาคม). การขนส่งตู้ระหว่าง ICD ลาดกระบังไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือแหลมฉบังมายัง ICD ลาดกระบัง ขนส่งทางรถไฟทำอย่างไร?. http://www.lissom-logistics.co.th›articles-details

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-05-2024