แผนผังสายธารคุณค่าของกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • จุติมา บุญมี สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แผนผังสายธารคุณค่า, กิจกรรมดำน้ำตื้น, จังหวัดตรัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงแผนผังสายธารคุณค่า ของกิจกรรมดำน้ำตื้นในจังหวัดตรัง ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีเกณฑ์กับผู้ประกอบการนำเที่ยว 7 บริษัท และสัมภาษณ์แบบแนะนำต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมดำน้ำตื้น 34 คน วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลลักษณะการดำเนินงานของการจัดกิจกรรมดำน้ำตื้นโดยภาพรวมด้วยการวิเคราะห์คำหลัก เพื่ออธิบายให้เห็นลักษณะของกิจกรรม 3 ลักษณะ คือ 1) กิจกรรมที่มีมูลค่า 2) กิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่เพิ่มมูลค่า และ 3) กิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่า

ผลการวิจัย พบว่า ในการจัดกิจกรรมดำน้ำตื้นของจังหวัดตรัง มีกิจกรรมที่มีมูลค่า จำนวน 4 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมดำน้ำตื้น 2) การบริการอาหารและเครื่องดื่ม 3) การจัดรวมแพ็กเกจ และ 4) การบริการต่าง ๆ กิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่เพิ่มมูลค่า จำนวน 4 กิจกรรม คือ 1) การดูแลรักษาและบำรุงเครื่องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ 2) การใช้เวลาไปโดยที่ไม่เกิดงาน 3) การจ้างช่างเครื่องประจำไปในเรือตามข้อบังคับ 4) สำรองค่าเครื่องเรือ และกิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่า จำนวน 5 กิจกรรม คือ 1) การบริการหรือรับจองกิจกรรมอื่นที่นอกเหนือจากโปรแกรม 2) การคุยรายละเอียดต่าง ๆ นานเกินไป 3) การสลับโปรแกรมในช่วงที่น้ำขึ้น 4) การเตรียมของและวัตถุดิบสำรองไว้มากเกินไป 5) การปฏิบัติหน้าที่บางอย่างที่เกินความจำเป็น ซึ่งผู้ประกอบการนำเที่ยว สามารถนำผลการศึกษาไปปรับใช้เพื่อปรับปรุงและเพิ่มมูลค่าในกระบวนการให้บริการของกิจกรรมดำน้ำตื้นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

กัญจน์นรี จิตต์ธนานันท์, นุศราพร เกษสมบูรณ์ และนิวัฒน์ นัดสถาพร. (2560). การใช้แผนที่สายธารคุณค่าเพื่อพัฒนากระบวนการเบิกจ่ายยาภายในโรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 13(4), 50-62.

คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล. (2562). ทะเลและมหาสมุทรและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ซี มาสเตอร์มายด์. (2564, 10 มกราคม). Disruption in Diving วงการดำน้ำ ความตกต่ำ หรือ โอกาสใหม่. https://www.seamastermind.com/single-post/2019/12/05/diving-disruption

ธรรมศักดิ์ ค่วยเทศ. (2560). การวิเคราะห์แผนผังสายธารคุณค่าของห่วงโซ่อุปทานข้าวไรซ์เบอร์รี่ในภาคเหนือ. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 20(2), 104-113.

นิพนธ์ บัวแก้ว. (2552). รู้จักระบบการผลิตแบบลีน (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สำนักงานสถิติจังหวัดตรัง. (2564, 28 มกราคม). ข้อมูลนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง ปี พ.ศ. 2556-พ.ศ. 2560. http://trang.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=245&Itemid=585&fbclid=IwAR0UbG4o0D021-udXZZxd1Z9-hFrWV3FwjkvTRoxeuLWDyTflHJYO6bQ71E

สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2563). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการท่องเที่ยว แนวคิดและวิธีวิจัย. ศิริชัยการพิมพ์.

Brumbaugh, R., & Patil, P. (2017, May 22). Sustainable tourism can drive the blue economy: Investing in ocean health is synonymous with generating ocean wealth. https://blogs.worldbank.org/voices/Sustainable-Tourism-Can-Drive-the-Blue-Economy

International Labour Organization. (2017). Lean Manufacturing Techniques For Ready Made Garments Industry. International Labour Organization.

Langstrand, J. (2016). An Introduction to Value Stream Mapping and Analysis. Linköping University.

Suhardi, B., Anisa, N., & Widyo Laksono, P. (2019). Minimizing waste using lean manufacturing and ECRS principle in Indonesian furniture industry. Cogent Engineering, 6(1), 1-13.

Sharafuddin, M. A. (2015). Types of Tourism in Thailand. e-Review of Tourism Research, 12(3/4), 210-219.

Tourism Authority of Thailand. (2020). Wonderful Diving in Thailand. Promotional Material Production Division, Marketing Services Department.

World Tourism Organization. (2013). Sustainable Tourism Governance and Management in Coastal Areas of Africa. Spain: World Tourism Organization (UNWTO).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-05-2024