โมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 เชียงราย

ผู้แต่ง

  • กษิดิศ ใจผาวัง การจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • เสริมศิริ นิลดำ ดิจิทัลมัลติมีเดีย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง การจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นิเวศ จีนะบุญเรือง การจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การปลูกข้าวแบบนิเวศน์อนุรักษ์, การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, ความยั่งยืน, ข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานของเกษตรกรในเครือข่าย ผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงราย ตามแนวคิดการปลูกข้าวแบบ Eco Rice แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และผลลัพธ์ความยั่งยืนที่เกิดขึ้น และ 2) ศึกษาหาความสัมพันธ์และการส่งผลของแนวคิดการปลูกข้าวแบบ Eco Rice แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่มีต่อผลลัพธ์ความยั่งยืนที่เกิดขึ้นของเกษตรกรในเครือข่ายผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามสำรวจข้อมูลกับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของเครือข่ายทั้งหมด จำนวน 92 ราย และดำเนินการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาความสัมพันธ์และการส่งผลของตัวแปร

ผลการวิจัย พบว่า 1) เครือข่ายเกษตรกรมีการปลูกข้าวแบบ Eco Rice ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเป็นรูปแบบการปลูกข้าวแบบเกื้อกูลสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ แบบส่งเสริม และแบบหนุนเสริม ตามลำดับ การดำเนินงานตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจสีเขียวสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน และด้านเศรษฐกิจชีวภาพ ตามลำดับ การดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีการดำเนินงานด้านทุนทางสังคมสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการตลาดเชิงสร้างสรรค์ และน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านศักยภาพเครือข่ายทางสังคม ผลลัพธ์ความยั่งยืนที่เกิดขึ้น ภาพรวมเกิดขึ้นในระดับมาก โดยความยั่งยืนด้านสังคมมีค่าสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ และ 2) การปลูกข้าวแบบ Eco Rice ส่งผลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ที่ระดับ 0.47 และส่งผลทางบวกต่อการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ระดับ 0.45 การดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ส่งผลทางบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ระดับ 0.48 และส่งผลทางบวกต่อความยั่งยืนที่เกิดขึ้น ที่ระดับ 0.39 การดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ส่งผลทางบวกต่อความยั่งยืนที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.42 ตามลำดับ

References

กรรณิกา อุสสาสาร, ธวชินี ลาลิน, อิสสราพร กล่อมกล่ำนุ่ม, โอกาม่า จ่าแกะ, จันทิมา ก้อนจันทร์เทศ, และจำเนียนน้อย สิงหะรักษ์. (ม.ป.ป.). การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยในจังหวัดกำแพงเพชร. https://huso.kpru.ac.th/h-sd/contents/Files/Kanika02.pdf

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562, 16 ตุลาคม). BCG Model คืออะไร..ใครอยากรู้บ้าง??. https://www.facebook.com/MHESIThailand/ posts/3013987001961693/

กษิดิศ ใจผาวัง. (2562ก). การพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวเหนียวเขี้ยวงู จังหวัดเชียงราย (รายงานวิจัย). สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน).

กษิดิศ ใจผาวัง. (2562ข). ปัจจัยความสำเร็จของการนำแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนภาคเหนือตอนบน [ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

กษิดิศ ใจผาวัง. (2564). โมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรแปรรูปข้าวปลอดภัยแบบยั่งยืน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

กษิดิศ ใจผาวัง, เสริมศิริ นิลดำ, นิเวศ จีนะบุญเรือง, และศิริพรรณ จีนะบุญเรือง. (2565). การใช้ทรัพยากรทางชีวภาพในชุมชนในการลดต้นทุนเพาะปลูก กรณีศึกษาการปลูกข้าวในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(1), 59-73.

จริยา โนนแดง และสมพันธ์ เตชะอธิก. (2562). การดำเนินงานและปัญหาการดำเนินงานของกลุ่มข้าวกล้องอินทรีย์ ตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ (น. 2022-2031). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จีรภัทร์ พินิจสุวรรณ, ฐานิตา เตวิชพงศ์, วณัฐมณี วงเวียน, อารียา ลาสะมอ, กฤติเดช อัครกิจปรีชา, อรจารีย์ ทองธีรภาพ, และรุ่งทิพย์ ไทยสม. (2563). จิตวิทยาในการเลือกลักษณะการเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อประชากรไทย. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 2(1), 48-61.

ชวัลนุช พุธวัฒนะ และปังปอนด์ รักอำนวยกิจ. (2564). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของจังหวัดรองผ่านกระบวนการสร้าง ตราสินค้าการสร้างบรรจุภัณฑ์และการเล่าเรื่อง (Branding, Packaging, and Storytelling) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว: กรณีศึกษา กลุ่มจังหวัดอีสานใต้ (ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ). Journal of Public Administration, Public Affairs, and Management, 19(2), 71-96.

นิภาศักดิ์ คงงาม, ประภัสรา ศิริขันธ์แสง, และเฉลา สำราญดี. (2561). ความหลากหลายของการใช้ประโยชน์จากปูนาของชุมชนในพื้นที่บริเวณแนวเทือกเขาพนมดงรัก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(special issue), 229-241.

บังอร อุบล, ศุภชัย อำคา, และเครือมาศ สมัครการ (2555). ผลของการไถพรวนและการจัดการเศษเหลือพืชต่อการเติบโต ผลผลิตและการกักเก็บคาร์บอนในพืชและดินในการทำนา. วารสารดินและปุ๋ย, 34(1-4), 17-26.

ประชาคมวิจัยด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว. (2561). สมุดปกขาว BCG in Action การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว Bio - Circular - Green Economy. ประชาคมวิจัยด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว.

ปวีณา ลี้ตระกูล, นุกุล อินทกูล,กษิดิศ ใจผาวัง, และพายัพภูเบศวร์ มากกูล. (2564). โครงการพัฒนาความยั่งยืนให้แก่เครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงู 8974 ในจังหวัดเชียงราย (รายงานการวิจัย). สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน).

พงษ์ศักดิ์ ปาสาบุตร, ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ, ฑีฆา โยธาภักดี, และปิยะพิศ ขอนแก่น. (2565). องค์ประกอบความสำเร็จการทำเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืน ในพื้นที่บ้านสะจุก บ้านสะเกี้ยง ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 13(1), 267-275.

พรชัย ศุภวิทิตพัฒนา, วิจิตต์ศรี สงวนวงศ์, ณคุณ ธรณีนิติญาณ, อรรถพล สืบพงศกร, พิมพ์พร โสววัฒนกุล, และกนกอร สีมานนท์. (2564). การศึกษาการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของชุมชนบางกะเจ้า. วารสารชุมชนวิจัย, 15(2), 118-130.

พิกุล พงษ์กลาง. (2561). แนวทางการลดต้นทุนผลิตของการปลูกข้าว. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 10(13), 17-26.

ภิญญาพร โชชัญยะ และนุจรี ภาคาสัตย์. (2564). สมรรถนะชาวนาไทยที่ประสบความสําเร็จในการประกอบอาชีพการทํานา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 11(3), 760-774.

วิสุทธิ์ เลิศไกร. (ม.ป.ป.). การหมุนเวียนธาตุอาหารและเพิ่มอินทรียวัตถุในดินจากเศษซากพืชในแปลงเกษตรกรรมด้วยวิธีการไถกลบตอซัง. https://alro.go.th/uploads/org/research_plan/download/article/article_20160902102029.pdf

สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี. (2565, 5 ตุลาคม). การเลี้ยงปลากินพืชด้วยหญ้าเนเปียร์. https://thaifarmer.lib.ku.ac.th/news/633e46892b680b0e08092d68

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ข้าวนาปี : เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ระดับประเทศ ภาค และจังหวัด ที่ความชื้น 15% ปีเพาะปลูก 2565/66. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/major%20rice%2065(1).pdf

สุปรานี มั่นหมาย, ภาวนา ลิกขนานนท์, อธิปัตย์ คลังบุญครอง, สนธยา ขาติ๊บ, ยุทธนา เครือหาญชาญพงค์, สุภาษิต เสงี่ยมพงศ์, พงษ์ศักดิ์ ต่ายก้อนทอง, และพุฒนา รุ่งระวี. (ม.ป.ป.). การจัดการตอซังฟางข้าวสำหรับการเตรียมดินในแปลงนาเขตชลประทาน. http://mis.nsru.ac.th/procresearch/ResearchProjectInfo.aspx?res_id=R000000410

สุภาพร พงศ์ธรพฤกษ์. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการหมักปุ๋ยชีวมวลเหลือทิ้งในสวนวนเกษตร. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 15(2), 79-87.

อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน. (2566, 7 กุมภาพันธ์). BCG Model พัฒนาเศรษฐกิจบนความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและความเท่าเทียมของสังคม. https://op.mahidol.ac.th/ga/mgr-27/

อัญรัตน์ วิเชียร, กรองทิพย์ ชัยชาญ, และสุภาวดี มณีเนตร. (2561). กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิตข้าว: กรณีศึกษาตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Science), 11(2), 81-89.

อาลี ปรียากร. (2564). วิธีการเล่าเรื่องที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคกรณีศึกษา ฮาซันอาหารทะเลตากแห้ง จ.สตูล. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(1), 33-44.

Sulich, A. (2020). The green economy development factors. Vision 2020, 6861-6869.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-05-2024