บทบาทของผ้าทอในพิธีกรรมกินแขก-กุนตายของคนไทในลุ่มน้ำโขง
คำสำคัญ:
บทบาทของผ้าทอในพิธีกรรม, พิธีกรรมแต่งงาน, พิธีกรรมหลังความตาย, ชาติพันธุ์ไทในลุ่มน้ำโขงบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผ้าทอในพิธีกรรมการแต่งงานและพิธีกรรมหลังความตายของกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำโขง 3 ชุมชน ได้แก่ 1) บ้านโพนทอง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ประเทศไทย 2) บ้านตาแหลว เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) บ้านจ่า เขตปกครองตนเองชนชาติไทสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เก็บข้อมูลภาคสนามระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไททั้ง 3 ชุมชน ยังมีแนวปฏิบัติพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิต ทั้งพิธีกรรมการแต่งงาน (กินดอง หรือกินแขก) และพิธีกรรมหลังความตาย (งันเฮือนดี หรือกุนตาย) โดยพิธีกรรมดังกล่าวใช้ผ้าทอมือเป็นวัตถุสัญลักษณ์สำคัญในการประกอบพิธีกรรม ในพิธีกรรมกินดองผู้หญิงจะผลิตผ้าทอและหาซื้อผ้าทอเพื่อใช้เป็นเครื่องแต่งกาย เครื่องไหว้ เครื่องใช้ และเครื่องนอน ส่วนพิธีกรรมกุนตายผ้าทอจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายศพ ผ้าคลุมโลงศพ ตลอดจนการประกอบพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายก็นิยมทอตุงหรือธุง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ส่งวิญญาณผู้ตาย ผ้าทอจึงสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของกลุ่มชนชาติไทที่ผูกพันกับความเชื่อดั้งเดิมและความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ด้านบทบาทของผ้าทอในพิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิต พบว่า มีบทบาท 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) บทบาทในการแสดงตัวตนของผู้หญิง 2) บทบาทในการแสดงโลกทัศน์โลกหลังความตาย 3) บทบาทการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของชุมชน และ 4) บทบาทในการธำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนไท
References
ชนัญ วงษ์วิภาค. (2540). เครื่องนุ่งห่มและเอกลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชนกมลย์ คงยก. (2558). “ผ้า” สื่อกลางระหว่างความเชื่อกับพิธีกรรม : กรณีศึกษา ผ้านาหมื่นศรีอําเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารรูสมิแร. 37(1), 79–96.
ประทับใจ สิกขา. (2555). ธุงอีสาน. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล และแพทรีเซีย ซีสแมน แน่นหนา. (2542). ผ้าไทลื้อ : การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม. ใน ศิราพร ณ ถลาง และสุกัญญา ภัทราชัย (บ.ก.), คติชนกับคนไทย-ไท : รวมบทความทางด้านคติชนวิทยาในบริบททางสังคม (258-263). โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัคพล คำหน้อย. (2565). บทบาทหน้าที่และความเชื่อผ่านผ้าทอไทขึน : กรณีศึกษาหมู่บ้านต้น แหน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 6(2), 35–51.
เมษ สอดส่องกฤษ. (2556). การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศลุ่มน้ำโขง: กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนตอนใต้ (ยูนนาน และกวางสี) ต้นสายธารอารยธรรมลุ่มน้ำโขง. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ลิวอิส, เอ. โคเซอร์. (2535). Master of Sociological Thought: Ideas in Historical and Social Context [แนวความคิดทฤษฎีสังคมวิทยา ตอน เอมิล เดอไคม์]. (นฤจร อิทธิจีระจรัส, ผู้แปล). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณา วุฒฑะกุล และยุรารัตน์ พันธุ์ยุรา. (2536). ผ้าทอกับวิถีชีวิตชาวไทย. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
ศิราพร ณ ถลาง. (2562). คติชนสร้างสรรค์ : บทสังเคราะห์และทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
สุริยา สมุทคุปติ์ และพัฒนา กิติอาษา. (2536). ฮีตบ้านคองเมือง : รวมบทความทางมานุษยวิทยา ว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมอีสาน. โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทางมานุษยวิทยาของอีสาน ห้องไทยศึกษานิทัศน์สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สุริยา สมุทคุปติ์, พัฒนา กิติอาษา, และนันทิยา พุทธะ. (2537). แม่ญิงต้องต่ำหูก: พัฒนาการ ของกระบวนการการทอผ้าและการเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้หญิงในหมู่บ้านอีสานปัจจุบัน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2551). การศึกษาภาษาถิ่น: ภาษาตระกูลไท. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์, สุจริตลักษณ์ ดีผดุง, เอกพงศ์ สุวรรณเกษร์, อภิญญา บัวสรวง, อิสระ ชูศรี, โสภนา ศรีจำปา, มยุรี ถาวรพัฒน์, อมร ทวีศักดิ์, และประภาศรี ดำสอาด. (2547). แผนที่ ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย : ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bascom, W. R. (1965). Four Functions of Folklore. In Alan Dundes (Eds.), The Study of Folklore. (pp. 279–298). Vintage Book.
Cheesman, P. (2007). Spirit Skirts of the Lao-Tai People of Laos. In Jane Puranananda (Eds.), The secrets of Southeast Asian textiles: myth, status and the supernatural. (pp. 134–149). River Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว