การวิเคราะห์เนื้อหาผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยีดนตรีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีดนตรี, การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ทางดนตรี, การวิเคราะห์เนื้อหาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยีดนตรีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 21 งาน วิธีวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการตีความและให้รหัสเพื่อจำแนกงานวิจัยตามลักษณะและประเด็นการศึกษาทั้ง 4 ด้าน คือ 1) แรงบันดาลใจและแนวคิด 2) รูปแบบงานสร้างสรรค์ 3) เทคนิควิธีและเทคโนโลยี และ 4) เนื้อหาสาระ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงบันดาลใจและแนวคิดในการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การใช้ประสบการณ์ในอดีต ความท้าทายในการทดลองใช้เทคโนโลยี อิทธิพลทางดนตรี งานอดิเรก วรรณกรรมและเรื่องราวในจินตนาการ และมุมมองและทัศนคติส่วนบุคคล 2) รูปแบบงานสร้างสรรค์ ได้แก่ การแสดงดนตรีประกอบภาพเคลื่อนไหวแบบถ่ายทำจากเหตุการณ์จริง การแสดงดนตรีประกอบภาพเคลื่อนไหวแอนิเมชัน การแสดงดนตรีประกอบภาพยนตร์ และการแสดงดนตรีโดยใช้นวัตกรรมควบคุมอุปกรณ์ 3) เทคนิควิธีและเทคโนโลยีที่ใช้ เช่น โฟลีย์ (Foley) ออดิโอแซมปลิง (Audio Sampling) การสังเคราะห์เสียง สต็อปโมชัน การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ ลูป แกรนูลาร์ ซินธีซิส (Granular Synthesis) เป็นต้น และ 4) เนื้อหาสาระด้านคีตลักษณ์ที่ใช้ ได้แก่ ทรู-คอมโพส และเวิร์ส-คอรัส ข้อเสนอแนะ คือ ควรผลักดันให้นักศึกษาต่อยอดการทำวิจัยสร้างสรรค์บนฐานของผลงานในอดีต โดยสนับสนุนให้อาจารย์ที่ปรึกษาแนะแนวทางบนพื้นฐานของข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ และควรขยายการศึกษาแบบการสังเคราะห์งานวิจัยให้ครอบคลุมผลงานวิจัยสร้างสรรค์ทางดนตรีที่มีทั้งหมด โดยอาจจัดทำในรูปแบบงานวิจัยประเภทการทบทวนขอบเขต (Scoping Review)
References
จักรกฤษ ชุมเมฆ. (2558). การพัฒนามิดิคอนโทรลเลอร์แบบสัมผัสบนตัวกีตาร์ [รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม]. https://lookerstudio.google.com/s/hYR9HMUiIC4
จีระสิทธิ์ สุวรรณศรี. (2559). การพัฒนาฐานข้อมูลเสียงและออกแบบเสียงสําหรับบทประพันธ์เพลง“เลาะโขงเบิ่งเมืองนครพนม” [รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม]. https://lookerstudio.google.com/s/hYR9HMUiIC4
ชยุตพงศ์ สองศรี. (2559). การประพันธ์สารคดีเพลงประกอบภาพเคลื่อนไหวของจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยเน้นเทคนิคอิเลคโทรอะคูสติค [รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม]. https://lookerstudio.google.com/s/hYR9HMUiIC4
ชาคริต สิทธิอัมพร. (2559). การประพันธ์ดนตรีประกอบการฉายภาพเคลื่อนไหวสามมิติในบทเพลง “FLY AWAY” (3D Projection Mapping Music) [รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม]. https://lookerstudio.google.com/s/hYR9HMUiIC4
ไชยวัฒน์ นนทะบูรณ์. (2566). บทประพันธ์ Fight until I die [รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม]. https://lookerstudio.google.com/s/hYR9HMUiIC4
ดุจสดี สุพงษ์. (2558). Mix Machine: การพัฒนานวัตกรรมระบบซับมิกซ์และเมโทรนอม [รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม]. https://lookerstudio.google.com/s/hYR9HMUiIC4
ธีรวีร์ กลศาสตร์เสนี. (2558). การพัฒนาสื่อการสอนกีตาร์สําหรับช่วงวัย 9-12 ปี [รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม]. https://lookerstudio.google.com/s/hYR9HMUiIC4
นัทธี เชียงชะนา และสมชัย ตระการรุ่ง. (2558). วิธีการบำบัดทางดนตรี: การวิเคราะห์เนื้อหาจากงานวิจัย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 45(2), 116-133.
นัทธี เชียงชะนา. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยทางดนตรีศึกษา: การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2558, 30 ธันวาคม). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558. https://www.ubu.ac.th/web/files_up/46f2016031715160316.pdf
ปรีชา เถาทอง. (2557). แนวทางการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการสร้างสรรค์ศิลปะวิชาการ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(2), 5-11.
ปองภพ สุกิตติวงศ์. (2567, 15 มกราคม). WTMU4902 การวิจัยทางดนตรี. https://sites.google.com/chandra.ac.th/aj-pongpob.
ปองภพ สุกิตติวงศ์ และธนิน กรอธิพงศ์. (2564). คู่มือการจัดทำรายงานการวิจัยทางดนตรีและการเสนอผลงานทางดนตรี [ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ปัญจพล จึงมีผลบุญ. (2559). บทประพันธ์ “สงครามแห่งอนาคต”(Entering The Future War) [รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม]. https://lookerstudio.google.com/s/hYR9HMUiIC4
ภานุ เจริญเสริมสกุล. (2561). การสังเคราะห์บทความวิจัยด้านดนตรีบำบัดในโรงเรียน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2565). หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 [หลักสูตรไม่ได้ตีพิมพ์].
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (2564). หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 [หลักสูตรไม่ได้ตีพิมพ์].
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2565). หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 [หลักสูตรไม่ได้ตีพิมพ์].
สมชัย ตระการรุ่ง และนัทธี เชียงชะนา. (2557). เครื่องมือที่ใช้ประเมินผลในงานวิจัยทางดนตรีบำบัด: การวิเคราะห์เนื้อหา. วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 10, 92-106.
สุชานันท์ กันทะขู้. (2563). การประยุกต์ใช้ Soundscape ร่วมกับบทประพันธ์เพลงบรรเลง Pearl โดยโปรแกรม Cubase [รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม]. https://lookerstudio.google.com /s/hYR9HMUiIC4
หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (2565). สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 [หลักสูตรไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อนุสรณ์ กิจวิจารณ์. (2558). การพัฒนาไดเร็คบ๊อกซ์แบบปรีแอมป์หลอดสุญญากาศ [รายงานวิจัยปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม]. https://lookerstudio.google.com/s/hYR9HMUiIC4
โอฬาร ผลพานิช และอินทิรา รอบรู้. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนทักษะปฏิบัติ วิธีการสอนดนตรีของโคดาย และชุดการสอนมัลติมีเดีย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 14(1), 57-70.
Barrett, E., & Bolt, B. (2019). Practice as Research: Approaches to Creative Arts Enquiry (1st Ed.). Bloomsbury.
Dogantan-Dack, M. (2015). Artistic Practice as Research in Music: Theory, Criticism, Practice. Ashgate Publishing Company.
Nelson R. (2013). Practice as research in the arts: principles protocols pedagogies resistances. Palgrave Macmillan.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว