คุณภาพการบริการและส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
คุณภาพการบริการ, ส่วนประสมการค้าปลีก, ธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการบริการและส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค 2) หาความเชื่อมโยงของคุณภาพการบริการและส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และ 3) นำเสนอกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการบริการของธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากผู้บริโภคที่เคยใช้บริการธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย จำนวน 708 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับคุณภาพการบริการส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ในระดับมาก (M = 3.89, SD = 0.98) และส่วนประสมการค้าปลีกส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในระดับมากเช่นกัน (M = 3.76, SD = 1.03) (2) ความเชื่อมโยงของคุณภาพการบริการและส่วนประสมการค้าปลีกส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการบริการของธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กในเขตอำเภอเมืองเชียงราย ธุรกิจควรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การตอบสนองต่อลูกค้าอย่างรวดเร็ว และด้านส่วนประสมการค้าปลีก มุ่งเน้นกลยุทธ์ความหลากหลายของประเภทสินค้า
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคภาคเอกชน จังหวัดเชียงราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570. https://km.fti.or.th/wp-content/uploads/2024/02/14.แผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคภาคเอกชน-จังหวัดเชียงราย.pdf
จำรัส พูลเกื้อ และยุทธชัย ฮารีบิน. (2566). แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการสู่ความเป็นเลิศ กรณีศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต. ใน วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ (บ.ก.). รายงานสืบเนื่องการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. (น. 1919-1932). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). ตักสิลาการพิมพ์.
นวภัทร ธีระจารุวรรณ. (2565). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การค้าปลีกของร้านวัตถุดิบและอุปกรณ์เบเกอรี่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
วลัย ซ่อนกลิ่น. (2562). กลยุทธ์การค้าปลีกที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ ค้าปลีกวัสดุก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(2), 232-247.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565, 14 กุมภาพันธ์). พฤติกรรมการบริโภคยุคใหม่กับความท้าทายปรับตัวของธุรกิจ. https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/article-2024jun06.pdf
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน). https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage
สินิทรา สุขสวัสดิ์ และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. (2561). อิทธิพลของส่วนประสมการค้าปลีกที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านค้าปลีกประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(พิเศษ), 1-12.
สุทัด วันนิจ และกนกพร ชัยประสิทธิ์. (2565). คุณภาพการบริการ และประสิทธิภาพในการส่งมอบงานที่ส่งผลต่อการใช้บริการอย่างต่อเนื่องของลูกค้างานซ่อมบำรุง. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 4(2), 1-16.
อารยา ลิมทวีสมเกียรติ. (2563). คุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการ. Nail Spa ของผู้บริการโภค Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Routledge.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2010). Multivariate data analysis. Pearson Prentice Hall.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2004). Principles of Marketing. (10th ed.). Pearson-Prentice Hall.
Levy, M., & Weitz, B. (2009). Retailing Management (7th ed.). McGrawHill Education.
Nurtanto, E., Rusilawati, E., Hamzah, Z., & Anis, Z. (2022). The Effect of Retailing Mix on Costumer Purchase Decision. International Journal of Economics Development Research, 3(1), 71-83.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. The Journal of Marketing, 49(4), 41-50.
Prianggoro, N. F., & Sitio, A. (2019). Effect of Service Quality and Promotion on Purchase Decisions and Their Implications on Customer Satisfaction. International Journal of Engineering Technologies and Management Research, 6(6), 51-62. https://doi.org/10.29121/ijetmr.v6.i6.2019.393
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว