การมูเตลูในสังคมไทย : มุมมองทางพฤติกรรมศาสตร์
คำสำคัญ:
มูเตลู, สังคมไทย, พฤติกรรมศาสตร์บทคัดย่อ
ปัจจุบัน กระแสความสนใจและความนิยมเกี่ยวกับการมูเตลู กำลังแพร่หลายในสังคมไทย และมีบทบาทต่อพฤติกรรมของคนไทยส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก เช่น การแต่งกาย การใช้ชีวิตประจำวัน การท่องเที่ยว การเลือกที่อยู่อาศัย บทความนี้จึงมุ่งหวังนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการมูเตลูในมุมมองทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยพบว่า กลุ่มคนเหล่านี้ถูกเรียกว่า “สายมู” ทั้งนี้การมูเตลู เป็นเรื่องที่เข้าถึงคนได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงร้อยละ 70.00 และ ร้อยละ 30.00 คือกลุ่มผู้ชาย และการมูเตลูที่คนไทยทุกเพศทุกวัยให้ความสนใจ ได้แก่ 1) ความรักและเสน่ห์ ร้อยละ 40.00 2) การเงินและโชคลาภ ร้อยละ 35.00 และ 3) การงาน สุขภาพ และอื่น ๆ ร้อยละ 25.00 ในบทความนี้ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TRB) ของไอแซงค์ (Ajzen) เป็นทฤษฎีที่ได้รับความนิยมในทางพฤติกรรมศาสตร์ มาอธิบายเพื่อทำความเข้าใจและประโยชน์ในเชิงวิชาการเกี่ยวกับกลุ่มคน “สายมู” และการมูเตลูในสังคมไทย สามารถสรุปได้ว่า พฤติกรรมมูเตลูของคนในสังคมไทย เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจและนับวันยิ่งขยายฐานกลุ่มคนในสังคมมากขึ้น ทั้งนี้รากฐานของพฤติกรรมมูเตลูที่แท้จริง คือ “ความเชื่อ” ดังนั้นการปลูกฝังความรู้ คุณธรรมและจริยธรรมเพื่อพัฒนาปัญญาให้มีความเชื่ออย่างมีเหตุผล หรือที่เรียกว่า “พุทธิจริต” จึงเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการความเชื่อของคนไทยให้อยู่บนฐานของปัญญา โดยมุ่งเน้นการสร้างวิจารณญาณในการคิดเพื่อตัดสินว่า สิ่งใดควรเชื่อ สิ่งใดไม่ควรเชื่อ และไม่นำการมูเตลูไปเบียดเบียนและแสวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น แต่สามารถใช้ข้อมูลหรือสิ่งต่าง ๆ จากการมูเตลู มาเป็นข้อมูลประเภทหนึ่งในการตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนสามารถนำมาใช้เป็นกุศโลบายในการเชื่อ หรือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อการทำความดีและพัฒนาตนเองต่อไป
References
กรมการศาสนา. (2552). พิธีกรรมและประเพณี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กวินณา บุญทิพย์. (2565, 29 พฤษภาคม). แผนธุรกิจ MAMAMU (มามามู) แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้บริการด้านความเชื่อ. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4758
กิตติ วัฒนะมหาตม์. (2549). คู่มือบูชาเทพ. สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2566). มูเตลู : การเท่าทันสื่อ. วารสาร ICEM E-Bulletin. (4), 1-3.
คณะจิตวิทยา. (2567, 6 ตุลาคม). การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ (Buddhist-Counselling). https://www.psy.chula.ac.th/en/feature-articles/buddhist-counseling/m
จักราพิชญ์ อัตโน. (2565). ตำราพรหมชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). บริษัท วารา พับลิชชิ่ง จำกัด.
เฉลิมทศพล เจริญสุข. (ม.ป.ป.). พระพิฆเนศฉบับสมบูรณ์. บริษัทสำนักพิมพ์ เพชรกะรัต จำกัด.
ณฐณัช แก้วผลึก. (2561). การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์ [วิทยานิพนธ์พุทธศาสนดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณิชมน สาริพันธ์, จรัส ลีกา, พระมหาไพรฑูรย์ สิริธมฺโม และพระมหาจิณกมล อภิรตโน (เป็นสุข).
(2564). โหราศาสตร์กับการดำเนินชีวิต. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 8(4), 58-68.
ไทยรัฐออนไลน์. (2565ก, 15 พฤษภาคม). เปิดที่มา “มูเตล” คืออะไร ทำไมใครๆ ก็หันมาเป็นสายมู. https://www.thairath.co.th/horoscope/belief/2355760
ไทยรัฐออนไลน์. (2565ข, 19 พฤษภาคม). เปิดใจสายมูยุคดิจิทัลมาแรงแต่ทำไมคนยุคใหม่ยังอินเรื่องดวง. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2294431
ไทยรัฐออนไลน์. (2565ค, 29 พฤษภาคม). เศรษฐกิจสายมู ซอฟต์พาวเวอร์ไทย เจาะตลาดต่างชาติ อยากสมหวัง ได้ดั่งใจ. https://www.thairath.co.th/scoop/culture/2651061
นราบดินทร์ ศิริวารินทร์. (2563). การออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับแหวนมงคลตามหลักเลขศาสตร์ไทย [ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2565, 29 พฤษภาคม). มูเตลู: มานุษยวิทยาของเครื่องรางของขลังและโชคลาภ. https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/328
นัชพล คงพันธ์ และพระมหาศุภฤกษ์ สุภทฺทจารี (สีวันคำ). (2563). พิธีกรรมทางศาสนากับการปฏิบัติตนนิสิตสังคมศึกษายุคโลกาภิวัตน์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8(2), 259-270.
นิติกฤตย์ กิตติศรีวรนันท์. (2560). DECODER+: ถอดรหัสพลังตัวเลขสร้างแรงดึงดูดความสำเร็จ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เบอร์รับโชค ดอท คอม.
เบนาซิต เพียรรักษ์ และศรัณย์ ธิติลักษณ์. (2564). คตินิยมของธุรกิจและสินค้าที่เกี่ยวกับความเชื่อ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10(3),14-25.
รุจิกาญจน์ สานนท์. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อเจนาเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการโหราศาสตร์ในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ลักษณ์ ราชสีห์. (2565). สมบัติพญานาคราช. บริษัท ร.ศ.221 พับลิเคชั่น จำกัด.
ลักษณ์ เรขานิเทศ. (2561). คัมภีร์โหราศาสตร์ไทย : ภาคพื้นฐาน 1 จักรราศีแห่งดวงชะตา. บริษัท ร.ศ.221 พับลิเคชั่น จำกัด.
วรรธิดา สงขาว และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2563). กระบวนการให้คำปรึกษาของนักโหราศาสตร์ในสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ ด้วยหลักพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8(4), 1539-1551.
วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง. (2557). ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนกับความภักดีของนักท่องเที่ยว. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 34(2), 131-146.
หมอนุ้ย โหราศาสตร์ไทย. (2566, 15 มิถุนายน). อ่านดวงได้เองง่ายๆ แค่รู้ 5 อย่างนี้. https://aduang.co/horoscope/16682
อนุวัตร จุลินทร, ดุษฎี โยเหลา และเพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ. (2562). ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลและทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน: การนำไปประยุกต์ใช้ด้านธุรกิจ. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 12(5), 128-145.
Ajzen, I. (2011). The theory of planned behavior: Reactions and reflections”. Psychology and Health. 26(9), 1113-1127.
Ajzen, I. (2006, June 15). Constructing a Theory of Planned Behavior Questionnaire. https://www.researchgate.net/publication/235913732
Inna, S. (2005). Integrating Tarot readings into counselling and psychotherapy. Spirituality and Health International. 6(2), 81-94.
Zhang, K. (2018). Theory of Planned Behavior: Origins, Development and Future Direction. International Journal of Humanities and Social Science Invention. 7(5), 76-83.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว