ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์แบบกึ่งการมีส่วนร่วมทางสังคมในชุมชนเสมือน ความเข้มแข็งในชุมชนเสมือน และพฤติกรรมต่อข่าวในแง่ลบของแฟนคลับดาราละครซีรีส์วายในกลุ่มเฟซบุ๊ก

ผู้แต่ง

  • ทักษยา วัชรสารทรัพย์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์แบบกึ่งการมีส่วนร่วมทางสังคม, ชุมชนเสมือน, ความเข้มแข็งในชุมชนเสมือน, แฟนคลับ, การเลือกรับข่าว, พฤติกรรมต่อข่าวในแง่ลบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์แบบกึ่งการมีส่วนร่วมทางสังคม ความเข้มแข็งของชุมชนเสมือน และพฤติกรรมต่อข่าวในแง่ลบของกลุ่มแฟนคลับดาราละครซีรีส์วายในกลุ่มเฟซบุ๊ก โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มแฟนคลับดาราซีรีส์วายในกลุ่มเฟซบุ๊กซีรีส์วายไทยแลนด์ (Series Y Thailand) และกลุ่มเฟซบุ๊กกลุ่มคนรักซีรีส์วาย ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน แบบสอบถามออนไลน์มีข้อคำถามจำนวน 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบเลือกตอบ ได้แก่ คำถามคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มแฟนคลับดาราละครซีรีส์วาย และตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ 1) คำถามวัดความสัมพันธ์แบบ กึ่งการมีส่วนร่วมทางสังคมของกลุ่มแฟนคลับดาราละครซีรีส์วาย 2) คำถามวัดความเข้มแข็งในชุมชนเสมือนกลุ่มแฟนคลับดาราละครซีรีส์วาย 3) คำถามการรูปแบบการรับสื่อข่าวสารที่เกี่ยวกับดาราละครซีรีส์วาย และ 4) คำถามวัดพฤติกรรมเมื่อรับข่าวสารแง่ลบของดาราละคร ซีรีส์วาย แล้ววิเคราะห์ผลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแฟนคลับนั้นมีค่าความสัมพันธ์แบบกึ่งการมีส่วนร่วมทางสังคม ค่าความเข้มแข็งในชุมชนเสมือน และค่าพฤติกรรมตอบโต้ต่อข่าวในแง่ลบสูง ค่าความสัมพันธ์แบบกึ่งการมีส่วนร่วมทางสังคม ค่าความเข้มแข็งในชุมชนเสมือน และค่าพฤติกรรมต่อข่าวในแง่ลบของกลุ่มแฟนคลับนั้นมีความสัมพันธ์แปรผันตรงต่อกัน พฤติกรรมตอบโต้ต่อข่าวในแง่ลบของกลุ่มแฟนคลับนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น การโจมตีผู้ที่เผยแพร่ข่าวสารหรือบุคคลอื่นในข่าวนั้น แสดงความเห็นปกป้อง เผยแพร่ข่าวด้านดี หรือการจัดกิจกรรมให้กำลังใจ เป็นต้น พฤติกรรมตอบโต้ข่าวในแง่ลบที่เกิดขึ้นนี้นั้นมักไม่ใช่การกระทำโดยลำพังแต่มักเกิดขึ้นโดยมีการชักชวนให้กลุ่มชุมชนของตนเคลื่อนไหวไปพร้อมกันด้วย

References

เขมสรณ์ หนูขาว (2023). ศาลเตี้ย ออนไลน์: กรณีศึกษาสถานการณ์ปฏิสัมพันธ์และผลกระทบที่ เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงแต่ถูกสืบสวนและตัดสินในโลกออนไลน์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84205

ณัฐธนนท์ ศุขถุงทอง และภูวิน บุณยะเวชชวินี (2562). ซีรีส์วาย: ข้อพิจารณาเบื้องต้นทางสถิติ. Journal of East Asian Studies, 23(2), 360-383.

ปัฐยา เรืองเริงกุลฤทธิ์ และวิกานดา พรสกุลวานิช (2564). อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์กึ่งการมีส่วนร่วม ทางสังคมต่อความผูกพันในชุมชนเสมือนของกลุ่มแฟนซีรีส์จีน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(2), 68-86.

สมคิด แซ่คู (2565). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงบทบาทของนักแสดงชายไทยในบริบทเรื่องชายรักชายของซีรีส์และละครโทรทัศน์ไทย [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. http://dspace.bu.ac.th//handle/123456789/5536

Blanchard, A. L., (2007). Developing a sense of virtual community measure. CyberPsycology & Behaviour, 10(6), 827-830.

Blight, M. G., Ruppel, E. K., & Schoenbauer, K. V. (2017). Sense of community on Twitter and Instagram: Exploring the roles of motives and parasocial relationships. Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking, 20(5), 314-319.

Bocarnea, M. C., & Brown, W. J. (2007). Celebrity-Persona Parasocial Interaction Scale. In R. A. Reynolds, R. Woods, & J. D. Baker (Eds.), Handbook of Research on Electronic surveys and Measurement (pp. 309-312). Hershey, PA: Idea Group Reference.

Chen, J. (2021). The Characteristics and Effects of Fan Community Communication. In J. Wang, B. Achour & C.Y. Huang (Eds.), the 7th International Conference on Humanities and Social Science Research (ICHSSR 2021) (pp. 1092-1096). Atlantis Press.

Chipuer, H. M., & Pretty, G. M. (1999). A review of the sense of community index: Current uses, factor structure, reliability, and further development. Journal of Community Psychology, 27(6), 643-658.

Dibble, J. L., Hartmann, T., & Rosaen, S. F. (2016). Parasocial interaction and parasocial relationship: Conceptual clarification and a critical assessment of measures. Human Communication Research, 42(1), 21-44.

Jenol, N. A. M., & Pazi, N. H. A. (2020). Escapism and motivation: Understanding K-pop fans well-being and identity. Malaysian Journal of Society and Space. 16(4), 336-347.

Jung, S. (2012). Fan Activism, Cybervigilantism, and Othering Mechanisms in K-pop Fandom. Transformative Works and Cultures, 10. https://doi.org/10.3983/twc.2012.0300.

Kauppinen, N. (2023). "It was somewhat like a mental breakdown.” — Navigating Cognitive Dissonancein Life is Strange: The Influence of Parasocial Relationships and Immersion on Players' Perceptions {Master’s thesis, University of Eastern Finland}. Erepo. https://erepo.uef.fi/bitstream/handle/123456789/30048/urn_nbn_fi_uef-20230738.pdf?sequence=1

Kowert, R. & Daniel, Jr. E. (2021). The one-and-a-half sided parasocial relationship: The curious case of live streaming. Computers in Human Behavior Reports, 4, 1-7.

Liu, J. (2023). Virtual presence, real connections: Exploring the role of parasocial relationships in virtual idol fan community participation. Global Media and China, 0(0), 1-22. https://doi.org/10.1177/20594364231222976

McMillan, D. W. (1996). Sense of community. Journal of Community Psychology, 24(4), 315-325.

Rheingold, H. (1993). Virtual Communities. Secker & Warburg.

Rubin, A. M. (2009). The uses-and-gratifications perspective of media effects. In J. Bryant & D. Zillmann (Eds.), Media effects: Advances in theory and research (2nd ed., pp. 181-200). Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Sherrick, B., Smith, C., Jia, Y., Thomas, B., & Franklin, S. B. (2022). How Parasocial Phenomena Contribute to Sense of Community on Twitch. Journal of Broadcasting & Electronic Media, 67(1), 47–67.

Thorne, S., & Bruner G.C. (2006). An exploratory investigation of the characteristics of Consumer fanaticism. Qualitative Market Research: An International Journal, 9(1), 51-72. doi:10.1108/13522750610640558.

Xu, Y., Vanden A, M., Hou, M., & Antheunis, M. (2022). Do parasocial relationships with micro- and mainstream celebrities differ? An empirical study testing four attributes of the parasocial relationship. Celebrity Studies, 14(3), 366–386.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2024