การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • นิษฐ์ชยา สิทธาหิรัญวัชร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ประกายกาวิล ศรีจินดา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสาร, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเทศบาลเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเทศบาลเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นโดยรวมต่อองค์ประกอบของการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเทศบาลเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยด้านการสร้างภาพลักษณ์และแบรนด์ของแหล่งท่องเที่ยวมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และด้านการเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้แก่ การสื่อสารเพื่อการพัฒนาด้านหน้าที่ในการควบคุมปฏิบัติการและทิศทางการไหลของข่าวสาร โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 25.00 และการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมด้านการเข้าถึงข่าวสาร การมีส่วนร่วม และการจัดการด้วยตนเอง ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 47.00 ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่า เทศบาลเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในทุกด้าน โดยเฉพาะการสร้างภาพลักษณ์และแบรนด์ของแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนในการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดต่อไปในอนาคต

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแผนปฏิบัติราชการรายปี 2565. กองยุทธศาสตร์และแผนงานสํานักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กาญจนา แก้วเทพ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่อง "การสื่อสารชุมชน". ภาพพิมพ์.

กิตติพันธุ์ ประสิทธิ์. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(1), 1-12.

เขมลักษณ์ คุปคีตพันธ์ และปริญญา บรรจงมณี. (2563). แนวทางการพัฒนาองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 1-13.

ชัยพร เอ้งฉ้วน. (2566). การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล. วารสารพิกุล, 21(2), 29-48.

ทิพย์สุดา ปานเกษม และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2559). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน. นวัตกรรมนิเทศศาสตร์และการจัดการ. การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ (น. 155–176). คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล. (2556). การพัฒนาแผนการสื่อสารเชิงบูรณาการเพื่อรณรงค์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านหินตัง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 1(2), 31-40.

นิมิต ซุ้นสั้น, พรชัย ศักดิ์ศิริโสภณ, สุภัทรา สังข์ทอง, และห้าวหาญ ทวีเส้ง. (2564). การรับรู้ผลกระทบของการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านบางโรง จังหวัดภูเก็ต. วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 106-127.

นุชฤดี รุ่ยใหม่. (2565). ภาพลักษณ์การสื่อสารการขยายตลาดการท่องเที่ยวต่างชาติอย่างยั่งยืน. วารสารราชนครินทร์,19(1): 33-41.

พัชรินทร์ บุญนุ่น, ทัชชญา สังขะกูล, สาทินี วัฒนกิจ, ปิยาภรณ์ ธุระกิจจำนง, และนันทชัย ชูศิลป์. (2565). ทิศทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารเมืองหาดใหญ่เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของอาหารภายหลังวิกฤตโควิด 19. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(3), 26-40.

พรรณนิภา เดชพล. (2563). การจัดการกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของบ้านโป่งมะนาว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา, 5(1), 108-203.

ปัทมาวดี วงษ์เกิด, ภัคณิษา อภิศุภกรกุล, สายใจ ทันการ, จงกล ศิริประภา และวิทวัส สหวงษ์. (2564). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ,5(1), 13-22.

เม กองแก้ว. (2565). แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการและการจัดการภาคเอกชน, 1(3), 30-40.

มัลลิกา บุนนาค. (2551). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธการ ไวยอาภา, กวินรัตน์ อัฐวงศ์ชยากร, มนสิชา อินทจักร, เกวลิน หนูสุทธิ์, วลัยลดา ถาวรมงคลกิจ และเทพปรมินทร์ พงษ์พานิช. (2566). การจัดการทรัพยากรท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(4), 107-123.

วรวลัญช์ ดอกรัก. (2566). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(5), 462-480.

สมพงษ์ เส้งมณีย์, วิฆเนศวร ทะกอง, เสาวนีย์ วรรณประภา, ภารดี พึ่งสำราญ, และกาญจนา สมพื้น. (2564). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(2), 69-79.

สราวุธ วรรณทวี. (2562). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. BU Academic Review, 18(2), 202-214.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562, 14 พฤษภาคม). แผนแม่บทพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันตก. https://anyflip.com/zzfck/wgko/basic/301-350

อภิชญา สุขประเสริฐ และสรพงษ์ วงศ์ธีระธรณ์. (2563). การสื่อสารภาพลักษณ์และการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 5(2), 67-76.

Aliffianto, A. Y., & Andrianto, N. (2022). Sustainable tourism development from the perspective of digital communication. Jurnal Studi Komunikasi, 6(1), 110-125.

Asseraf, Y., Shoham, A., & Buskilah, J. (2022). Destination branding in the experience economy. Journal of Destination Marketing & Management, 23, 100669.

Byrne, B. M. (2010). Structural equation modeling with AMOS: Basic concepts, applications, and programming (2nd ed.). Taylor and Francis Group.

Chuchu, T. (2020). The impact of airport experience on international tourists' revisit intention: A South African case. Geojournal of Tourism and Geosites, 29(2), 414–427.

Dedeoğlu, B. B. (2019). Shaping tourist’s destination quality perception and loyalty through destination country image: The importance of involvement and perceived value. Tourism Management Perspectives, 29, 105-117.

Dormann, C. F., Elith, J., Bacher, S., Buchmann, C., Carl, G., Carré, G., García Márquez, J. R., Gruber, B., Lafourcade, B., Leitão, P. J., Münkemüller, T., McClean, C., Osborne, P. E., Reineking, B., Schröder, B., Skidmore, A. K., Zurell, D., & Lautenbach, S. (2013). Collinearity: A review of methods to deal with it and a simulation study evaluating their performance. Ecography, 36(1), 27–46.

Hysa, B., Karasek, A., & Zdonek, I. (2021). Social media usage by different generations as a tool for sustainable tourism marketing in society 5.0 idea. Sustainability, 13(3), 10-18.

Line, N. D., Hanks, L., & Zhang, L. (2016). Sustainability communication: The effect of message construals on consumer’s attitudes towards green restaurants. International Journal of Hospitality Management, 57, 143-151.

UNESCO. (1977). Report of the Meeting on Self-Management, Access and Participation in Communication. UNESCO.

Wondirad, A., Tolkach, D., & King, B. (2020). Stakeholder collaboration as a major factor for sustainable ecotourism development in developing countries. Tourism Management, 78, 104024.

Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory analysis (2nd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2024

How to Cite

สิทธาหิรัญวัชร์ น. ., รุ่งศรีสวัสดิ์ ส. ., & ศรีจินดา ป. . (2024). การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเทศบาลเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. จันทรเกษมสาร, 30(2), R239-R254. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/265092