ความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริณฑล
คำสำคัญ:
โทรศัพท์เคลื่อนที่, ความสำเร็จของธุรกิจ, ผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่,บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของภาวะผู้นำ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน นวัตกรรม ความสามารถในการแข่งขัน ความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการ หรือผู้จัดการร้านสาขาของบริษัทที่รับมอบอนุญาตประกอบธุรกิจภายใต้การทำสัญญาในลักษณะแฟรนไชส์ของผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่คือ AIS Dtac และ TrueMove จำนวน 331 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามสัดส่วนจำนวนของผู้ประกอบการร้านสาขาของแต่ละเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเทคนิคการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model, SEM) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการร้านสาขาของ Telewiz Dtac Center TrueMove Shop จำนวน 6 ราย ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ประมวลความคิดเห็นที่สอดคล้องและแตกต่างกัน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับของปัจจัย ภาวะผู้นำ การจัดการห่วงโซ่อุปทานและความสามารถ ในการแข่งขันอยู่ในระดับมาก ส่วนระดับของปัจจัย นวัตกรรม และ ความสำเร็จทางการเงิน รวมทั้งความสำเร็จที่ไม่ใช่ทางการเงินของการดำเนินธุรกิจผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่ในระดับมากที่สุด และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ ภาวะผู้นำ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน นวัตกรรม และความสามารถในการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกDownloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว