Publication Ethics

หน้าที่ของบรรณาธิการ

1. กองบรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบ พิจารณากลั่นกรองบทความที่เข้ามาใหม่ เพื่อคัดเลือกบทความในการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร โดยพิจารณาจากความทันสมัย ความชัดเจน ตลอดจนมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร อีกทั้งยังเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่วารสารอื่นมาก่อน
2. กองบรรณาธิการมีหน้าที่ชี้แจง ให้คำแนะนำแก่ผู้ประเมินบทความในทุกประเด็นที่จะพัฒนาผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ให้ได้คุณภาพมาตรฐานของวารสาร
3. กองบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินในช่วงระหว่างกระบวนการพิจารณาบทความ
4. กองบรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบการคัดลอกหรือความซ้ำซ้อนของบทความ (Plagiarism) กับผู้นิพนธ์ท่านอื่น โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ หากตรวจพบการคัดลอกหรือความซ้ำซ้อนของบทความ กองบรรณาธิการจะติดต่อผู้ประเมินให้ชี้แจง เพื่อตัดสินใจให้บทความนั้นยังอยู่ในระบบการพิจารณาต่อไป หรือปฏิเสธบทความ
5. กองบรรณาธิการต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่รัดกุมเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสาร
6. กองบรรณาธิการจะไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในบทความของผู้นิพนธ์และผลประเมินของผู้ประเมินบทความ
7. กองบรรณาธิการจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ
8. กองบรรณาธิการจะมีช่องทางการสื่อสารให้ผู้นิพนธ์ได้ชี้แจงหากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการพิจารณาของกองบรรณาธิการ
9. กองบรรณาธิการมีการประกาศเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และอัตราจัดเก็บที่ชัดเจนสำหรับค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ค่าดำเนินการจัดการต้นฉบับ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้นิพนธ์ ให้ผู้สนใจส่งบทความตีพิมพ์และสาธารณชนทั่วไปรับทราบ
10. กองบรรณาธิการมีระบบแก้ไขข้อผิดพลาดร้ายแรงในบทความและถอดบทความที่พบว่าผิดจริยธรรมการวิจัย และไม่ละเลย เพิกเฉยเมื่อพบข้อผิดพลาดและการประพฤติผิดจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร
11. กองบรรณาธิการจะไม่ร้องขอให้มีการอ้างอิงผลงานใดเพื่อเพิ่มจำนวนการอ้างอิง (citation) หรือค่า impact factor ของวารสาร หรือเพื่อเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของผลงานของตนหรือพวกพ้อง
12. กองบรรณาธิการไม่มีส่วนในการตัดสินใจคัดเลือกบทความที่ตนเป็นผู้นิพนธ์หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง

หน้าที่ของผู้นิพนธ์บทความ

1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ รวมทั้งไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาหรือส่งเพื่อตีพิมพ์ที่อื่นซ้ำในเรื่องเดียวกัน
2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงาน ไม่ว่าจะเป็นผลงานส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด จากผลงานทางวิชาการของตนเองที่เคยเผยแพร่ไปก่อนหน้าและของบุคคลอื่น
3. ผู้นิพนธ์จะต้องปรับรูปแบบของบทความให้เป็นไปตามคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับที่ทางวารสารกำหนด
4. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน จะต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัยหรือมีส่วนร่วมในการเขียนบทความนั้นจริง
5. เนื้อหาของบทความต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร
6. ผู้นิพนธ์ต้องยอมรับการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินบทความ เพื่อให้บทความมีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการ
7. ผู้นิพนธ์จะต้องอ้างอิงให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด และจะไม่นำเอกสารวิชาการ ที่ไม่ได้อ้างอิงมาใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง
8. หากบทความมีผู้นิพนธ์หลายคน ผู้นิพนธ์ทุกคนจะต้องเห็นชอบกับต้นฉบับบทความและเห็นชอบกับการส่งต้นฉบับ บทความดังกล่าวให้วารสารพิจารณาตีพิมพ์

หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

1. ผู้ประเมินบทความจะพิจารณาบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ และจะประเมินบทความนั้นอย่างมีคุณภาพ พิจารณาตามหลักเกณฑ์ทางวิชาการ และไม่ใช้ความเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลเชิงวิชาการรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการประเมิน
2. ผู้ประเมินบทความมีเสรีภาพทางวิชาการในการประเมินบนฐานของหลักการทางวิชาการที่ถูกต้อง
3. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความในช่วงระยะเวลาการประเมิน
4. ผู้ประเมินบทความจะต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์
5. หากผู้ประเมินบทความตรวจพบว่าบทความมีการคัดลอกมาจากผลงานอื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบ พร้อมแสดงหลักฐานการคัดลอกที่ตรวจพบ
6. ผู้ประเมินบทความต้องดำเนินการประเมินตามกรอบระยะเวลาการประเมินที่ตกลงร่วมกันกับกองบรรณาธิการ
7. ผู้ประเมินรักษาความลับ ไม่เปิดเผยว่าตนเป็นผู้ประเมินบทความต่อผู้อื่นหรือสาธารณชน ในขณะที่กำลังทำการประเมินบทความ
8. ผู้ประเมินไม่เสนอแนะให้ผู้นิพนธ์อ้างอิงผลงานใดด้วยเจตนาเพิ่มจำนวนการอ้างอิงของผลงานของตนหรือพวกพ้อง