ผลของการพรางแสงระหว่างการเพาะปลูกต่อปริมาณคลอโรฟิลล์และสาร 2-Acetyl-1-Pyrroline ของใบเตยหอม

Main Article Content

ภาวิณี อารีศรีสม
นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์
รุ่งทิพย์ กาวารี
เทิดศักดิ์ โทณลักษณ์
กอบลาภ อารีศรีสม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอิทธิพลของการพรางแสงต่อปริมาณคลอโรฟิลล์ และสาร 2-acetyl-1-pyrroline (2AP) ของใบเตยหอม โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ด้วยตาข่ายพรางแสงต่างกัน 4 ระดับ (0, 50, 60 และ 70%) ระดับละ 3 ซ้ำ และเก็บเกี่ยวใบเตยหอมหลังจากปลูก 6 เดือน จากผลทดลองพบว่าการพรางแสงที่ให้ในการปลูกมีผลต่อปริมาณคลอโรฟิลล์ และสาร 2AP ในใบเตยหอมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเตยหอมที่ปลูกภายใต้ตาข่ายพรางแสง 50, 60 และ 70% จะมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูงกว่าเมื่อปลูกแบบไม่พรางแสง โดยมีปริมาณของคลอโรฟิลล์เท่ากับ  0.56 ± 0.06,  0.89 ± 0.02,  0.77 ± 0.03 และ 0.84 ± 0.12 มิลลิกรัม/กรัมพืชสด ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณสาร 2AP ในใบเตยหอมจะเพิ่มขึ้นเมื่อปลูกในสภาวะที่การพรางแสงลดลง คือ การพรางแสงที่ระดับ 70, 60 และ 50% มีสาร 2AP เท่ากับ 5.40 ± 0.01, 5.40 ± 0.02 และ 5.60 ± 0.01 ไมโครกรัม/กรัมพืชสด ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อปลูกโดยไม่มีการพรางแสง จะส่งผลให้ปริมาณสาร 2AP ลดลง โดยมีค่าเท่ากับ  5.55 ± 0.01 ไมโครกรัม/กรัมพืชสด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรพันธ์ ศรีทองกุล. 2553. อิทธิพลความแก่ใบ ความเข้มแสง และอุณหภูมิต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารเอเซียติโคไซด์และคุณภาพบัวบก (Centella asiatica (L.) Urban.). วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ. 99 หน้า.

น้องนุช เจริญกูล ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์ และ ดุษฎี อุตภาพ. 2545. การผลิตเจลปรับอากาศโดยใช้สารหอมที่สกัดได้จากใบเตยหอม. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 25(2): 185-201.

นิศานันท์ ตามกาล ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์ และ อรพิน เกิดชูชื่น. 2558. คุณสมบัติทางกายภาพและสารหอมระเหยของใบเตยหอม (Pandanus amaryllifolius Roxb.) สกัดด้วยน้ำ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 46(3)(พิเศษ): 145-148.

ประยงค์ ตันเล รภัสสา จันทาศรี เกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ และ พนิดา อะริมัตทสึ. 2558. ผลของการพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและปริมาณสารเอเชียติโคไซด์ของบัวบกสายพันธุ์สารคามก้านเขียว ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเกษตรพระวรุณ 12(1): 9-16.

ภาวิณี อารีศรีสม นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์ เทิดศักดิ์ โทณ-ลักษณ์ กอบลาภ อารีศรีสม และ รุ่งทิพย์ กาวารี. 2560. อิทธิพลของการพรางแสงต่อการเจริญเติบโตของเตยหอม. หน้า 8-16. ใน: รายงานการประชุมวิชาการประจำปี 2560. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

รัตนา ม่วงรัตน์ จารุวรรณ จินดากุล และ วรณัฐ อินปัน-บุตร. 2560. การสกัดร่วมกับการกักเก็บสารหอม 2-Acetyl-1-Pyrroline จากใบเตยด้วยแป้งข้าวเจ้าที่ผ่านการเกิดเจลาติไนเซซันภายใต้สภาวะหม้อนึ่งอัดไอเพื่อใช้เคลือบข้าวขาวพิจิตร. วารสารเกษตร 33(2): 299-310.

วันดี กฤษณพันธุ์. 2538. สมุนไพรสารพัดประโยชน์. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 164 หน้า.

สมพร ภูติยานันต์. 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 502 หน้า.

สมยศ เดชภิรัตนมงคล ธวัชชัย อุบลเกิด และ สมมารถ อยู่สุขยิ่งสถาพร. 2556. ผลของการพรางแสงที่มีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของหญ้าปักกิ่ง. หน้า 409-416. ใน: เอกสารการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 51. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุทธกานต์ ใจกาวิล. 2546. ผลของการบังแสงและการจัดการน้ำต่อความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณโพรลีนน้ำตาล คลอโรฟิลล์และสารหอม 2-อะเซติล-1-พิวโรลีนในข้าวขาวดอกมะลิ 105. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 99 หน้า.

สุนทรี สิงหบุตรา. 2536. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. คุณ 39, กรุงเทพฯ. 260 หน้า.

AOAC. 1990. Official Methods of Analysis of AOAC. Association of Official Analytical Chemists, Arlington. 1289 p.

Brand, M.H. 1997. Shade influences plant growth, leaf color, and chlorophyll content of Kalmia latifolia L. cultivars. HortScience 32(2): 206-208.

Chen, S., Y. Yang, W. Shi, Q. Ji, F. He, Z. Zhang, Z. Cheng, X. Liu and M. Xua. 2008. Badh2, Encoding Betaine Aldehyde Dehydrogenase, Inhibits the Biosynthesis of 2-Acetyl-1-Pyrroline, a Major Component in Rice Fragrance. The Plant Cell 20: 1850-1861.

Collard, R.C., J.N. Joiner, C.A. Conover and D.B. McConnell. 1977. Influence of shade and fertilizer on light compensation point of Ficus benjamina L. Journal of the American Society for Horticultural Science 102(4): 447-449.

Gross, J. 1991. Pigments in Vegetables: Chlorophylls and Carotenoid. Van Nostrand Reinhold, New York. 351 p.

Laksanalamai, V. and S. Ilangantileke. 1993. Comparison of aroma compound (2-acetyl-1-pyrroline) in leaves from pandan (Pandanus amaryllifolius) and Thai fragrant rice (Khao Dawk Mali-105). Cereal Chemistry 70(4): 381-384.

Mo, Z., W. Li, S. Pan, T. L Fitzgerald, F. Xiao, Y. Tang, Y. Wang, M. Duan, H. Tian and X. Tang. 2015. Shading during the grain filling period increases 2-acetyl-1-pyrroline content in fragrant rice. Rice 8: 9.

Nadaf, A. and R. Zanan. 2012. Economical importance of Indian Pandanus species. pp. 127-137. In: A. Nadaf and R. Zanan (eds.). Indian Pandanaceae - An Overview. Springer, New Delhi.

Nadaf, A.B., K.V. Wakte and R.I. Zanan. 2014. 2-acetyl-1-pyrroline biosynthesis: from fragrance to a rare metabolic disease. Journal of Plant Science & Research 1(1): 1-7.

Nadaf, A.B., S. Krishnan and K.V. Wakte. 2006. Histochemical and biochemical analysis of major aroma compound (2-acetyl-1-pyrroline) in basmati and other scented rice (Oryza sativa L.). Current Science 91(11): 1533-1536.

Shahak, Y. 2000. Colored shade nets a new agro-technology current research in ornamental. (Online). Available: http://www.horticom.com/pd/imagenes/55/146/55146.pdf (February 4, 2017).

Wakte, K.V., A.B. Nadaf, S. Krishnan and R.J. Thengane. 2007. Studies on lower epidermal papillae, the site of storage of basmati rice aroma compounds in Pandanus amaryllifolius Roxb. Current Science 93(2): 238-242.